พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยต่อการเช่าบูชาวัตถุมงคล

Main Article Content

ธนูศักดิ์ อินทร์ราช
อรชร มณีสงฆ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนไทยต่อการเช่าบูชาวัตถุมงคล (ไม่รวมพระเครื่อง) โดยข้อมูลที่ได้สามารถต่อยอดในการออกแบบกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มมูลค่าวัตถุมงคลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยได้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มเก็บข้อมูลแบบสอบถามทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่อยู่ในเพจเฟซบุ๊กเกี่ยวกับบูชาวัตถุมงคลต่างๆ จำนวน 400 ตัวอย่าง พบว่า ผู้ตอบส่วนมากเป็นเพศชาย อายุ 41 - 56 ปี รายได้ 35,001 – 45,000 บาทต่อเดือน การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสามลำดับแรก ได้แก่ ไซดักทรัพย์ (ป้องกันภัย/เสริมโชคลาภ) ปี่เซี่ยะ (ร่ำรวยเงินทอง) แมลงภู่คำหลวง (เสริมโชคลาภ) ผู้บริโภคมีความต้องการเช่าวัตถุมงคลเมื่อได้เดินทางไปในสถานที่ให้เช่าหรือเมื่อมีปัญหาหรือเห็นโฆษณา ส่วนใหญ่บูชาวัตถุมงคลจากคนรู้จัก อินเทอร์เน็ต วัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ค่าใช้จ่ายในการเช่าอยู่ระหว่าง 100 - 500 บาท/ครั้ง ผู้ใหญ่ที่นับถือมีผลต่อการตัดสินใจเช่าบูชาวัตถุมงคลมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารจากเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด หลังการบูชารู้สึกสมหวังอย่างที่ตั้งใจและจะแนะนำผู้อื่นต่อ ในอนาคตจะเช่าอีก ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ส่งเสริมการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสำคัญต่อการเช่าบูชาวัตถุมงคลในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apinnato, C. (2003). A Study of the Influence of Beliefs about Sacred Objects on People of Non Koon District, Sisaket Province. [Master’s Thesis]. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Black, K (2007). Business Statistics: Contemporary Decision Making. (5th ed.). Amazon.

Bunkhong, W. (2019). Decision Process of Consumers Amulet Online Purchase in Bangkok. [Master’s Thesis]. Ramkhamhaeng University.

Inthong, E. & Prakthayanon, S. (2021). Developing of Online Marketing Communication Strategies to Influences Consumers' Intention to Order Sacred Objects for Worship in Thailand. Siam Academic Journal, 22(1), 23-31.

Jarusira, K. (2019). What Is the Way to Survive the "Middle Class" In the Digital Age? Retrieved July 4, 2021, from https://forbesthailand.com/commentaries/insights/อะไรคือทางรอดของคนชั้น

Jenwithayaamornwech, S. (2011). Purchase Behavior, Beliefs and Faiths in Buddha Image Amulets and Sacred Objects of the Pharmacist. [Master’s Thesis]. Silpakorn University.

Kongarchapatch, B. (2021). Marketing in The Uncertain World. Retrieved July 4, 2021, from https://www.naewna.com/likesara/547344

Kongvien, W. (2015). Factors Affecting Consumers in Samut Sakhon Towards Purchasing Holy Objects. [Master’s Thesis]. Chiang Mai University.

Nunthiyawong, N. (2011). Factor of Service Marketing Mix Affecting on Bangkok Consumers’ Making Decision to Purchase Amulet Online. [Master’s Thesis]. Srinakharinwirot University.

Ruenrom, K. (2006). Market Research. (5th ed.), Chulalongkorn University Printing House.

Sakulborisutsuk, T. (2019). Factors Affecting to Amulets Purchasing Decision in Bangkok Area. [Master’s Thesis]. Mahidol University.

Serirat, S., & Serirat, S. (2017). Marketing Management. Thammasarn

Weeraduthsadeenon, A. (2021). Beliefs And Faiths, The Foundation When Life Is Fragile. Retrieved August 4, 2022, from https://www.gqthailand.com/gq-hype/article/gq-hype-vol-64