ปัญหาการลงโทษทางวินัยร้ายแรงข้าราชการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามฐานความผิดอาญาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ; ศึกษากรณีข้าราชการท้องถิ่นคืนเงินยืมทดรองราชการล่าช้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรณีข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทำสัญญายืมเงินทดรองราชการเพื่อเดินทางเข้าร่วมโครงการอบรม แต่มีเหตุที่ไม่สามารถเข้าอบรมได้ จึงได้คืนเงินยืมล่าช้า และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและมีมติว่ามีมูลความผิดอาญา แล้วได้ส่งคำวินิจฉัยพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยร้ายแรงโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนวินัย
จากการศึกษาพบว่า การยืมเงินเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 ซึ่งย่อมทำให้เงินยืมดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าราชการผู้ยืมทันทีที่มีการส่งมอบเงินยืม ข้าราชการที่ยืมเงินดังกล่าวจึงไม่ได้ครอบครองเงินยืมไว้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงไม่อาจเป็นความผิดอาญาตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวหาได้ และการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ผู้บังคับลงโทษทางวินัยร้ายแรงแก่ข้าราชการดังกล่าวโดยอาศัยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 98 ทั้งที่ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าข้าราชการดังกล่าวเป็นผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด จึงเป็นการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรคสอง ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 98 โดยให้แก้ไขการโทษทางวินัยร้ายแรงแก่ข้าราชการได้ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่าข้าราชการเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Anti-Corruption Operation Center (ACOC). (2022). Assembly Act Constitution on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561 (2018). Retrieved 2022, 6 July from https://image.mfa.go.th/mfa/0/KdWX2o37NC/migrate_directory/other-20190612-144711-589770.pdf
Constitution of Kingdom of Thailand B.E. 2560. (2017). Retrieved 2022, 6 July from https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=1038&filename=
European Court of Human Rights. (2020). Guide on Article 7 of the European Convention on Human Rights. Retrieved 2022, 6 July from https://www.echr.coe.int/Documents/Guide_Art_7_ENG.pdf
Faculty of Laws, Thammasat University. (2018). 60 years memories Phee Yai Jai Harn. Bangkok: Thammasat University.
Human Rights. (2022). International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR). Retrieved 2022, 6 July from https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/iccprt.pdf
Institute of Criminal Law, Office of the Attorney General. (1996). How do the justice system work together to seek the truth In a criminal case?. Bangkok: Institute of Criminal Law, Office of the Attorney General.
Office of the Attorney General, Thammasat University, Niti Saewana Project and Association of People Liberties Right. (1996). Sherry Ann’s Criminal Case, how do the judicial process protect the rights and freedoms of the innocents?. Bangkok: Matichon Press.
Office of the Council of State. (2022). Act Promulgating Criminal Code B.E. 2499. Retrieved 2022, 6 July From https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf