กลยุทธ์การจำและการสอนอักษรจีนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำ ของจอยส์และวีล

Main Article Content

แตงเถา แซ่เจี๋ย
ณัฐฐิดา โพชสาลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จากนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล และ (3) ศึกษากลยุทธ์การจำและการสอนอักษรจีนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารชั้น ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบฝึกการจดจำอักษรจีนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล (2) แบบทดสอบการจำอักษรจีนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test (Paired- Sample t-test) และนำข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล  มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


        ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์การจดจำอักษรจีนของนักศึกษาหลังเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีลของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 (2) นักศึกษามีความพึงพอใจกับการเรียนการสอนโดยใช้โดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล  เพื่อส่งเสริมการจดจำอักษรจีน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าผลเฉลี่ย เท่ากับ 4.26 และ (3) นักศึกษาได้ใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล เชื่อมโยงไปสู่การจดจำอักษรจีนในบทเรียนได้ วิเคราะห์ได้จากนักศึกษามีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงขึ้น


          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์การจดจำอักษรจีนของนักศึกษาหลังเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีลของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ(2) นักศึกษามีความพึงพอใจกับการเรียนการสอนโดยใช้โดยใช้ทฤษฎีการสอนเน้นความจำของจอยส์และวีล  เพื่อส่งเสริมการจดจำอักษรจีน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าผลเฉลี่ย เท่ากับ 4.26

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chalatyaem, N. (n.d.). Teaching and Learning Model using Advance Organizer Model. Retrieved May 30, 2022, from http://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CU_ FORMJOURNAL/ DRAWER001/GENERAL/DATA0016/00016208.PDF

Chitchak, A. (2016). Decelopment of Learning Management According to Gagne’s Approch With Computer Assisted Instruction on Principle of Basic Computer for Pratiomsuksa 4 students. [Master's thesis, Rajabhat Mahasarakham University].

Jaiboon, C. (2016). Chinese Vocabulary Memory strategy and Chinese Vocabulary Teaching. National Academic Conference (pp. 29-40). Dhurakit Pundit University Bangkok.

Khammanee, Th. (2017). Teaching method: Mutiple choices (9 th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Li, Y. (2011). The Development of Drill Exercise on Chinese Writing Skill of Fourth Grade Students. [Master's thesis, Silpakorn University].

Malee, R. (2019). The Development of The writing practice of Chinese compound characters using associative memory techniques for Chinese character recognition of 10th grade students. [Master's thesis, Naresuan University].

Prapagorn, P. (2018). Improving Mandarin Chinese Vocabulary Retention Ability Through Chinese Radical. RMUTI Journal Humanities and Social Sciences. 5(2), 99–111.

Shaolan. (2016). Chineasy: The New Way to Read Chinese [Chineasy เก่งจีนได้ไม่ต้องจำ] (1st ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Thonghaew, S. (2021). The Improvement of the Mandarin Chinese Alphabets Memorization of Chinese Major Students in Thepsatri Rajabhat University Using a Chinese Single-Structured Alphabet Writing Learning Package. Journal of Lawasri. 5(1), 117–126.