การศึกษาโมเดลธุรกิจที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อสร้างต้นแบบการทำธุรกิจชุมชนที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาธุรกิจน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ ในพื้นที่ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงราย
Keywords:
น้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์, กิจการเพื่อชุมชน, ผึ้งหลวง, ผึ้งโพรง, แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน, pure wild honey, community enterprise, giant honey bees, asiatic honey bees, sustainable development conceptAbstract
This research focuses on reviewing a business model of pure wild honey product from a community enterprise of Huay Hin Lad Nai Village, Chiang Rai Province. The data collection is accomplished by observation and depth interview with leader of the community, local people and stakeholders in pure wild honey product supply chain. The major income of people in this community is mainly gained from the pure wild honey produced by two species of wild bees: Giant Honey Bees and Asiatic Honey Bees. The proportion of pure wild honey from Asiatic Honey Bees is larger than Giant Bees. Some of revenue from pure wild honey product is deducted into the two honey funds; The deduction of the sale on the product from Giant Honey Bees is 20 Baht per bottle that cumulatively goes to the fund around 4,000 Baht per year, while the deduction of the sale on the product from Asiatic Honey Bees is counted 30%of the whole revenue that cumulatively goes to the fund around 52,500 Baht per year.
Value Chain analysis illustrates the supply chain management of this business emphasizes on creating value to pure wild honey by value added activities. In addition, the funds are spent on forest ranging that causes the positive effects toward the bees’ ways of living, reproducing, including honey producing. This finally leads to the high quality of honey. Consequently, it can be claimed that both the value added activities and the forest ranging are concerned as the important keys to the value added products.
As the pure wild honey product business is an outstanding interconnection among business that can create income and make quality of life for local people. Moreover, this business focuses on environment affects by deducting some of revenue for forest raging and conserving forest by their traditional knowledge. Therefore, this model being under the sustainable development concept and can be a good model for other communities to set up their community enterprises.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาโมเดลธุรกิจของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นกิจการเพื่อชุมชนของหมู่บ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงราย โดยในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้จะใช้วิธีการเข้าไปฝังตัวในพื้นที่จริงเพื่อสังเกตการณ์แล้ว จดบันทึกข้อมูลประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้านที่มีอาชีพเก็บน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในธุรกิจน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านมาจากผึ้งสองชนิด ได้แก่ ผึ้งหลวงและผึ้งโพรง โดยสัดส่วนของน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ที่ได้มาจากผึ้งโพรงนั้นจะมีปริมาณมากกว่าน้ำผึ้งที่ได้มาจากผึ้งหลวง รายได้ส่วนหนึ่งที่ได้จากการจำหน่ายน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์จะถูกหักเข้าสู่กองทุนน้ำผึ้งซึ่งแบ่งออกเป็นสองกองทุน ได้แก่ กองทุนน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งหลวง ซึ่งจะหักรายได้จากการจำหน่ายน้ำผึ้งของผึ้งหลวงคิดเป็นจำนวนเงิน 20 บาท/ขวดเข้าสู่กองทุน โดยจำนวนเงินสูงสุดที่เข้ามาสู่กองทุนนี้เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท/ปี ส่วนอีกกองทุนหนึ่งจะเป็นกองทุนน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งโพรง เงินที่หักเข้ากองทุนนี้จะคิดเป็นร้อยละ 30 ของรายได้ โดยจำนวนเงินสูงสุดที่เข้ามาสู่กองทุนนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 52,500 บาท/ปี โดยประมาณ
จากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ พบว่ามูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นแก่ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ มาจากการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วยการให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่า ภายในห่วงโซ่คุณค่าและการนำเงินจากกองทุนน้ำผึ้งทั้งสองกองทุนนั้นไปใช้ในการดูแลป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำรงชีวิต การขยายพันธุ์ รวมถึงกระบวนการสร้างน้ำผึ้งของผึ้ง และในท้ายที่สุดก็จะเป็นที่มาของการได้มาซึ่งน้ำผึ้งคุณภาพดี จากการดำเนินงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์และจากความใส่ใจในเรื่องของคุณค่านี้ก็จะส่งผลทำให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่มที่ตามมา
จากการศึกษาธุรกิจน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ จะเห็นได้ว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้ ทำให้ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ดีขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้คำนึงถึงด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการดูแลพื้นที่ป่าให้อุดมสมบูรณ์ ดำเนินธุรกิจด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติให้น้อยที่สุด ถือได้ว่าการดำเนินธุรกิจนี้สอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ครบในทุกมิติ ซึ่งจากตัวอย่างนี้สามารถที่จะนำไปใช้เป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ที่ต้องการจัดตั้งให้มีการดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นกิจการเพื่อชุมชนได้ต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้