Home ThaiJo
จริยธรรมการตีพิมพ์
จรรยาบรรณในการตีพิมพ์บทความของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
บรรณาธิการมีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารงานวารสารเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารวิชาการไทย (TCI) กำหนด
1.บรรณาธิการบรรณาธิการมีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการพิจารณาคัดเลือกบทความต้นฉบับที่ส่งมาทุกบทความ และประเมินข้อสรุปเพื่อตัดสินใจการอนุมัติการตีพิมพ์เผยแพร่บทความต้นฉบับเป็นผลงานทางวิชาการของวารสาร โดยพิจารณาและคำนึงถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดของวารสาร คุณภาพของผลงานที่มีผลกระทบต่อความก้าวหน้าของวงการวิชาการ และคุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อชุมชนนักวิชาการและผู้ติดตามอ่านบทความดังกล่าว ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ซ้ำซ้อนกับผู้นิพนธ์บทความ และควรดำเนินการขั้นตอนดังกล่าวผ่านระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรร
2.บรรณาธิการต้องเลือกผู้ประเมินบทความให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตรงกับบทความนั้นๆอย่างเคร่งครัด ต้องอำนวยการให้กระบวนการประเมินคุณภาพบทความต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒินั้นเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมตามหลักวิชาการ ปราศจากอคติอย่างใดอย่างหนึ่ง และใช้ระยะเวลาเพื่อการดำเนินการที่เหมาะสมและต้องยอมรับผลการประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความ โดยไม่แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนข้อความอื่นๆนอกเหนือที่ผู้ประเมินบทความแนะนำ และไม่ใช้อำนาจหรือหน้าที่ครอบงำผู้ประเมินบทความให้ประเมินบทความต้องที่ตัวเองต้องการ
3.บรรณาธิการไม่ควรตอบรับบทความที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ประเมินบทความ และต้องไม่สร้างการแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมในกระบวนการใด ๆ ก็ตามอันจะยังผลลัพธ์ให้เป็นการเพิ่มลำดับคุณภาพของวารสารที่ตนเป็นผู้ดำเนินการ
4.บรรณาธิการต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความตามมาตรฐานทางวิชาการโดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานคนอื่น หากเกิดการคัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องแจ้งให้เจ้าของบทความทราบทันที หากเจ้าของบทความไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำบรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์ทันที
5.บรรณาธิการต้องเก็บรักษาข้อมูล ประจักษ์พยาน สารสนเทศต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามาเพื่อขอรับการพิจารณาและประเมินการตีพิมพ์เผยแพร่กับวารสารให้เป็นความลับ และห้ามเปิดเผยข้อมูลการสื่อสารอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความโดยเด็ดขาด ต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด เพื่อตรวจสอบผลงานที่จะถูกนำมาเผยแพร่ให้เป็นสาธารณะและอำนวยการงานการตีพิมพ์เผยแพร่ของวารสารให้สมบูรณ์และสำเร็จลุล่วงเป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงานรับผิดชอบ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามกรอบระยะเวลาที่วารสารกำหนดและต้องส่งบทความที่ทำการประเมินแล้วเสร็จให้กับวารสารภายในไม่เกิน 14 วันนับจากวันที่ได้รับบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก โดยยึดหลักวิชาการและให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของวารสาร และต้องประเมินบทความให้เป็นตามรูปแบบการประเมินของวารสารอย่างเคร่งครัดไม่มีอคติใดๆทั้งสิ้น และต้องมีจรรยาบรรณไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลการประเมินบทความให้แก่ส่วนงานอื่นหรือบุคคลอื่น
- ผู้ประเมินบทความองประเมินบทความต้นฉบับด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความอคติ ความลำเอียง ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ปราศจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือและไม่เป็นไปตามหลักวิชาการมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ และควรจะต้องให้ข้อเสนอแนะจากการประเมินที่ผู้เขียนสามารถนำไปปรับปรุงคุณภาพการเขียนเรียบเรียงบทความได้ และไม่นำเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งที่ตนเองประเมินมาเป็นผลงานของตนเองโดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของบทความหรือจากวารสาร
- ผู้ประเมินบทความต้องมีความรู้ความเข้าใจและเชี่ยวชาญในเนื้อหาของผลงานที่ตนเองประเมิน ถ้าไม่เชี่ยวชาญผู้ประเมินสามารถปฏิเสธที่จะประเมินบทความเรื่องนั้นได้ หากพบเนื้อหาในบทความที่ตนเองที่ตนเองประเมินมีความซ้ำซ้อนหรือเหมือนกับผลงานของคนอื่น
- ผู้ประเมินบทความหากตรวจสอบพบว่าบทความต้นฉบับที่ได้รับการมอบหมายให้ประเมินคุณภาพอาจมีปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับจริยธรรมการตีพิมพ์ เช่น การคัดลอกผลงานชิ้นอื่น การทำซ้ำผลงานเดิมที่เคยเผยแพร่แล้ว การไม่อ้างอิงหรือกล่าวถึงเจ้าของผลงานก่อนหน้า การส่งผลงานชิ้นเดียวพร้อมกันไปหาวารสารวิชาการ เป็นต้น ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน หากมีข้อเสนอแนะนอกเหนือประเด็นตามแบบประเมินก็สามารถเสนอเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ซ้ำซ้อนหรือส่วนได้ส่วนเสียกับเจ้าของบทความนั้นๆ ถ้าหากบรรณาธิการทราบในภายหลังจะขอยกเลิกผลการประเมินนั้นเสียและทางวารสารสงวนสิทธิ์ไม่ส่งบทความให้ท่านประเมินอีกในครั้งต่อไป
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนไม่ควรส่งบทความต้นฉบับเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณภาพบทความจากผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งวารสาร และต้องไม่ส่งบทความต้นฉบับเดียวกันไปขอรับการเข้าสู่กระบวนการของวารสารมากกว่าหนึ่งวารสารโดยพร้อมกัน
- ผู้เขียนบทความต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือคัดลอกบทความหรือผลงานของท่านอื่นมาเป็นผลงานของตัวเองโดยโดยไม่เป็นไปตามรูปแบบการอ้างอิงผลงานที่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ และต้องผ่านการตรวจโปรแกรมการคัดผลงานทางวิชาการที่เชื่อถือได้
- ผู้เขียนบทความต้องปรับหรือแก้ไขผลงานที่ตีพิมพ์เป็นไปตามรูปแบบการจัดพิมพ์และรูปแบบการอ้างอิงแหล่งข้อมูลตามรูปแบบที่วารสารกำหนด และต้องปรับแก้ไขผลงานที่ตีพิมพ์ตามคำแนะนำหรือตามผลการประเมินบทความจากคณะผู้ประเมินบทความของกองบรรณาธิการ หากไม่แก้ไขตามคำแนะนำทางวารสารจะขอสงวนสิทธิ์ไม่ตีพิมพ์บทความของท่าน และผู้เขียนบทความต้องยินยอมให้บทความหรือผลงานที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารและไม่นำไปตีพิมพ์เผยแผ่ในแหล่งอื่นๆ
- การเขียนถึงข้อมูลที่ยังอยู่ในระหว่างกระบวนการปกปิด เช่น บทความที่กำลังอยู่ในการประเมินคุณภาพ ข้อเสนอโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการส่งเสนอการประเมินโดยแหล่งทุน เป็นต้น ต้องได้รับการอนุญาตจากบุคคลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เขียนก่อนเสมอ หรือต้องเป็นการดำเนินการโดยสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนนั้น ๆ
- ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำแนะนำของวารสารภายใต้ระยะเวลาที่ทางวารสารกำหนด และขอสงวนสิทธิ์ไม่ตอบรับบทความของท่านมาตีพิมพ์และไม่ขอคืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
- ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้สารสนเทศที่เป็นเท็จเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด และต้องเขียนเรียบเรียงรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ให้ชัดเจนและมากเพียงพอที่ผู้อ่านบทความสามารถที่จะดำเนินการศึกษาโดยทำซ้ำเองได้