ทัศนคติของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดลที่มีต่อการบริหาร จัดการความสูญเปล่าตามแนวคิดแบบลีน
คำสำคัญ:
ทัศนคติของนักวิชาการเงินและบัญชี, การบริหารจัดการ, แนวคิดแบบลีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัย มหิดล ที่มีต่อการบริหารจัดการความสูญเปล่าตามแนวคิดแบบลีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักวิชาการเงินและบัญชีที่ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test , F-test และ LSD. ผลการศึกษา พบว่า นักวิชาการเงินและบัญชี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-35 ปี มีรายได้ 20,001-30,000 บาท มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงาน 10 ปีขึ้นไป ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามแนวคิดแบบลีนที่แตกต่างกันในด้านความสูญเปล่าจากการรอคอย และปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามแนวคิดแบบลีนที่แตกต่างกันในด้านความสูญเปล่าจากการรอคอย ด้านความสูญเปล่าจากการแก้ไขข้อผิดพลาด และ ด้านความสูญเปล่าจากการทำงานมากเกินไป
References
[2] ปริทรรศ โยธาพันธ์ (2555) “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความสูญเปล่า กรณีศึกษาระบบการผลิตแบบโตโยต้า ของบริษัทชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการจัดการอุตสาห กรรม วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง