ทัศนคติของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานครที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การตัดสินใจใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์

ผู้แต่ง

  • ณัฐฐา วิจิตรลัญจกร บัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
  • อริสสา สะอาดนัก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรม, การตัดสินใจ, ตลาดนัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์ โดยการเก็บแบบสอบถามจากผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าไคสแควร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์แตกต่างกัน และทัศนคติที่มีต่อตลาดนัดคอนเทนเนอร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์ ได้แก่ ทัศนคติต่อตลาดนัดคอนเทนเนอร์ในด้านความน่าสนใจของสถานที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์ ด้านช่วงที่ใช้บริการบ่อยที่สุด ด้านพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง และด้านแหล่งข้อมูล, ส่วนทัศนคติที่มีต่อตลาดนัดคอนเทนเนอร์ในด้านความเข้าถึงง่าย ด้านทรัพยากร และด้านบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์ ด้านช่วงที่ใช้บริการบ่อยที่สุด ด้านเหตุผลที่เลือกใช้บริการตลาดนัดคอนเทนเนอร์ ด้านพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง และด้านแหล่งข้อมูล ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

[1] เจตน์สฤษฏิ์ สังฃพันธ์ และคณะ. (2559). ความพึง พอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ, 33(1), 25-50.

[2] ทรงสิริ วิชิรานนท์ และทรงชัย ทองปาน. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง พัฒนาการและการดำรงอยู่ของตลาดนัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

[3] ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (5 มีนาคม 2550). กระบวนยุทธ์ธุรกิจ : Pop-Up Store: ยุทธวิธีการตลาดแบบนินจา. สืบค้นเมื่อ 26 ส.ค. 2559 จากนิตยสารผู้จัดการรายสัปดาห์ http://info.gotomanager.com/

[4] พิบูล ทีปะปาล. (2543). การบริหารการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.

[5] ภาวิณี กาญจนาภา. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด

[6] วารยา จันทร์หอม (2555). ทัศนคติและพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดนัดในจังหวัดพิจิตร. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[7] ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

[8] สุวิมล ปิยะสุจริตพร. (2556). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2) ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรี. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

[9] สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว: ก้าวแรกสู่การเป็นผู้บริหารธุรกิจท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อินทนิล.

[10]อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บุ๊คลิงก์.

[11]Aichan(นามแฝง). (2559). ชวนเที่ยว ART BOX Exhibition Market ตลาดนัดคอนเทนเนอร์สุดชิค เอาใจชาวฮิปสเตอร์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2559 จาก http://travel.truelife.com/

[12]Artboxbkk. (2559). ตลาด ART BOX. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2559 จาก www.artboxbkk.com

[13]Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

[14]Ferguson George F. (1976). Statistical Analysis in Psychology and Education. (4th ed.). Tokyo: McGraw-Hill Kogakusha.

[15]Swarbrooke, J., and Horner, S., (1999). Consumer Behavior in Tourism. Butterworth Heinemann, Great Britain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30