การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพบริการของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS และ MRT

ผู้แต่ง

  • ศุภินันท์ ดีครอบ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • อานนท์ ตันติวรศรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, คุณภาพบริการ, เงินอิเล็กทรอนิกส์, รถไฟฟ้า BTS และ MRT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพบริการของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 433 ตัวอย่าง ใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)วิเคราะห์ความแตกต่างด้วยค่า Independent Sample T-Test และความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ด้านเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่พบความแตกต่างในการยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพบริการ ด้านวุฒิการศึกษา ไม่พบความแตกต่างในด้านคุณภาพบริการ แต่พบความแตกต่างในการยอมรับเทคโนโลยี ในช่องทางการรับรู้ถึงประโยชน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสถานภาพ และอาชีพ พบความแตกต่างในการยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

[1] จิญาดา แก้วแทน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สมาร์ตโฟน : กรณีศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[2] ณัฐพิมล พุทธิพนาเวศ. (2550). ความคาดหวังและความต้องการของผู้บริโภคต่อเงินอิเล็กทรอนิกส์. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[3] ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). [ออนไลน์]. ข้อมูลธุรกรรมการให้บริการเงินอิเล็ก ทรอนิกส์ (e-Money). [สืบค้นวันที่ 27 พฤษภาคม 2560]. จากhttp://www2.bot.or.
th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=694&language=Th

[4] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2558). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

[5] พชร จิตต์แจ้ง (2553). การศึกษาการตัดสินใจใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[6] ยุวดี วรสิทธิ์ และเอก ชุณหชัชราชัย (2559). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ และพฤติกรรมการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ที่มีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร . วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 24-42.

[7] ศิริรัตน์ สะหุนิล และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (2556). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(4), 557-575

[8] สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ยูบีซีแอลบุ๊คส์.

[9] อนชนก ไชยสุนทร. (2558). การยอมรับการใช้งานของระบบการชำระเงิน แบบอิเล็คทรอนิกส์ ใน ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[10]F. Davis. (1985). A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems: theory and results. Unpublished Ph.D. dissertation, MIT Sloan School of Management, Cambridge, MA

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-31