ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

ผู้แต่ง

  • เพชรสุดา เชียรเทียนทอง สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ประทีป มากมิตร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยสนับสนุน, การมีส่วนร่วม, ประกันคุณภาพการศึกษา, คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรของคณะบริหารธุรกิจจานวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.42, SD = 0.66) (2) ระดับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.55, SD = 0.56) (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ พบว่า มีค่าความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (r = .478) และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2557) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2558. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจากัด ภาพพิมพ์.

กวี ครองแก้ว (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุรวี ศุนาลัย.(2559).ปัจจัยแห่งความสาเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560 จาก http://libdoc.dpu.ac.th/research/142405.pdf,

วาสนา สะอาด และคณะ. (2557). เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสานักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.สานักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี , ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560 จากhttp://www.ubu.ac.th/web/files_up/ 0f2015030617423862.pdf.,

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (2560) คู่มือการศึกษาและหลักสูตรปีการศึกษา 2560. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่10) นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ชัยรัตน์ ต.เจริญ จินตนา จันทร์เจริญ เฌณิศา สุวรรณ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเชียงราย, Veridian E-Journal, กลุ่มมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10 (1), 432-440.

จินตนา สระทองขาว. (2554). เรื่องปัจจัยองค์กรที่ส่งผลต่อการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน, ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561 จากhttp://doi.nrct.go.th/ ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10. 14457/SU.the.2011.566

อุษา น้อยทิม และคณะ. (2556). ทัศนคติและการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม(รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

งานประกันคุณภาพการศึกษา สานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดาเนินการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560 จาก http:// qa.pkru.ac.th/file_upload_ temp/H7C4F13E9.pdf

Best, John W. (1997). Research in Education. (3rd ed.) New Jersey: Prentice Hall .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01