การรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ของบริษัทตัวแทนจาหน่าย กรณีศึกษา ธนาคารเลือดของโรงพยาบาลประจาจังหวัดในเขตภาคตะวันออกและภาคตะวันตก

ผู้แต่ง

  • พิมญาดา พิพัฒนมงคลกิจ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ถุงบรรจุโลหิต, ธนาคารเลือด, ส่วนประสมการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ของบริษัทตัวแทนจาหน่าย (2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรและภูมิศาสตร์ของกลุ่มผู้ใช้บริการถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ (3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ของบริษัทตัวแทนจาหน่าย จาแนกตามปัจจัยด้านประชากร และ (4) ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์วิเคราะห์ ความสัมพันธ์การรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดแต่ละด้านของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ธนาคารเลือดที่อยู่ในโรงพยาบาลรัฐบาลประจาจังหวัด ในเขตภาคตะวันออกและภาคตะวันตก จาหนวนทั้งหมด 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (two-way ANOVA) และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านการบริการของบริษัทตัวแทนจาหน่ายถุงบรรจุโลหิตโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลาดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านรูปแบบการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านบริการหลังการใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความพึงพอใจ และด้านใช้ซ้าและบอกต่อ
2. ปัจจัยด้านอายุที่แตกต่างกันมีผลการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ ทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านตาแหน่งในอาชีพที่แตกต่างกัน มีผลการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านรูปแบบการให้บริการ ด้านบริการหลังการใช้บริการ ด้านความพึงพอใจ และด้านการใช้ซ้าและบอกต่อไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านผลิตภัณฑ์มีผลการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านประสบการณ์ในอาชีพที่แตกต่างกัน มีผลการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านรูปแบบการให้บริการ ด้านบริการหลังการ ใช้บริการ และด้านการใช้ซ้าและบอกต่อไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านผลิตภัณฑ์และด้านความพึงพอใจมีผลการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ปัจจัยด้านเขตพื้นที่ตั้งที่แตกต่างกัน มีผลการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดของถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงสี่ ของบริษัทตัวแทนจาหน่ายด้านบุคลากรผู้ให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านรูปแบบการให้บริการ ด้านบริการหลังการใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความพึงพอใจ ด้านการใช้ซ้าและบอกต่อ ไม่แตกต่างกัน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคลากรผู้ให้บริการ กับด้านรูปแบบการให้บริการ ด้านบริการหลังการใช้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความพึงพอใจของลูกค้า ด้านใช้ซ้าและบอกต่อ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.842, 0.830, 0.767, 0.808 และ 0.781 ตามลาดับ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระดับสูง

 

References

กมลวัฒน์ ยะสารวรรณ. (2547) การรับรู้กฎระเบียบของพนักงานท่าเรือแหลมฉบัง,ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

กันยารัตน์ มิ่งแก้ว. (2557) พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ : กรณีศึกษาบริษัทสยามอินเตอร์เนชั่นแนล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โครงการสารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน, (2553) สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน เล่ม 30 เรื่องที่ 9 วัสดุการแพทย์.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นันทสารี สุขโต. (2555) การตลาดระดับโลก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิต เผ่าวัฒนา. (2548) การประเมินผลการฝึกอบรมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
การเกษตรประจาตาบลในภาคเหนือ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553) การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2553.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2545) ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

ไพเราะ คลองนาวัง. (2543) คุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและรับรู้ของผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542) การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วิน เชยชมศรี. (2552) การพัฒนาการเลือดจระเข้แห้งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546) การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01