อิทธิพลการรับรู้ภาวะผู้นาที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย โดยมีการจัดการความรู้เป็นตัวแปรส่งผ่าน

ผู้แต่ง

  • ไกรวุฒิ จีรวัฒนากร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ธัญนันท์ บุญอยู่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การจัดการความรู้, ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นา การจัดการความรู้ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย และศึกษาอิทธิพลการรับรู้ภาวะผู้นาที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย โดยมีการจัดการความรู้เป็นตัวแปรส่งผ่าน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย ที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จานวน 225 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ตัวแปรด้านประสิทธิผลของงานมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตัวแปรด้านคุณภาพของงานและความสามารถเกี่ยวกับงานมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากและไม่แตกต่างกันมาก สาหรับปัจจัยด้านการจัดการความรู้ พบว่า ค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการสร้างความรู้มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด ส่วนตัวแปรด้านการแสวงหาความรู้ การจัดเก็บและสืบค้นความรู้ การถ่ายโอนความรู้และใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า การรับรู้ภาวะผู้นาไม่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.086 ในขณะที่การจัดการความรู้มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.614 ส่วนการรับรู้ภาวะผู้นามีอิทธิพลทางตรงกับการจัดการความรู้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.675 และการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน มีค่าเท่ากับ 0.411

References

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12, ราชกิจานุเบกษา, ปีที่ 1 เล่มที่ 133 ตอนที่ 115ก, ธันวาคม, หน้า 1–10.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกาลังสองน้อยที่สุดบางส่วน, การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ครั้งที่ 11 ประจาปี 2553.

เชษฐา ปทุมรังสี. (2550). รายงานการวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นา: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา, หน้า 7.

วรางคณา กาญจนพาที. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องภาวะผู้นาและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร: กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย, หน้า 3, 23–32.

จิตรประภา แสงบู่วัฒนา. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องแบบจาลองเชิงสาเหตุของภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงและการจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมรถโดยสารไม่ประจาทาง, หน้า 3–4, 28, 33–34, 38–46.

ประพนธ์ ผาสุกผืด. (2550). การจัดการความรู้ (KM) ฉบับขับเคลื่อน LO, กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ใยไหม

ประทวน สมบูรณ์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ของนักเรียน โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร, หน้า 11–20.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การจัดการความรู้...ปัจจัยสู่ความสาเร็จ, วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ, พฤษภาคม, หน้า 137–138.

ธกรศักดิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, หน้า 11–13.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.diw. go.th/hawk/content.php?mode=data1search, เข้าดูเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-01