การศึกษารูปแบบคอนเทนต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พัก กรณีศึกษา กลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คอนเทนต์, ที่พัก, การตัดสินใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับประชากรศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ ความพึงพอใจและความต้องการรูปแบบคอนเทนต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักเมื่อเดินทางท่องเที่ยวของผู้บริโภค 2) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมมศาสตร์ ปัจจัยความพึงพอใจและความต้องการรูปแบบคอนเทนต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พัก และ 3) ศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคอนเทนต์ที่ทาให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกรับบริการได้ง่ายขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จานวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ T-test, One-way ANOVA และ Simple regression โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบทฤษฎีความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีในการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย เขตราชเทวี เขตปทุมวัน เขตจตุจักร เขตบางกะปิ เขตตลิ่งชัน และเขตภาษีเจริญ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.00) อยู่ในช่วงอายุ 21 - 30 ปี (ร้อยละ 54.00) สถานภาพโสด (ร้อยละ 74.00) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ากว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 49.50) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 60.50) มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 56.00) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านรายได้ ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกที่พักของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกที่พักของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจและความต้องการรูปแบบคอนเทนต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
2. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
3. วิรุฬ พรรณเทวี. (2541). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยในอําเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. ศรินทร์ทิพย์ คาวาโนเบะ. (2554). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
5. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และ ไซเท็กซ์ จำกัด.
6. BLT Bangkok. (2019). ท่องเที่ยวไทยบูม รับนทท. 38 ล้านคน กวาดรายได้เป็นอันดับ 4 ของโลก. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.bltbangkok.com/CoverStory/ ท่องเที่ยวไทย-นักท่องเที่ยว.
7. Engel, James F. Kollat, David T. Blackwell, Roger D. (2511). Consumer Behavior. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.
8. Reuters Plus. (2018). ทำคอนเทนต์แทบตาย ทำไมไม่มีใครสนใจ หรือเรากำลังหลงทางอยู่. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.makewebeasy.com/blog/how-to-create-specific-content-for-your-brand.
9. Schiffman, L.G. and Kanuk L.L. (2530). Consumer Behavior. New Jersey: Printice Hall.