การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของกลุ่มลูกค้าธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน 2) ศึกษาปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่แตกต่างกันความผูกพันของกลุ่มลูกค้าธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ T-test One-way Anova และ Regression โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ประกอบด้วย เขตพญาไท เขตบางนา เขตจตุจักร เขตบางกะปิ เขตตลิ่งชัน และเขตบางแค
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 68.00 อยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปีจำนวน 172 คน คิดเป็นร้อยละ 43.00 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนจำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 31.00 มีรายได้ในช่วง 15,001-25,000 บาทจำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 39.00 มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรีจำนวน 244 คน คิดเป็นร้อยละ 61.00
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของกลุ่มลูกค้าธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ด้านสภาพความภักดีต่อสินค้า ด้านโอกาสในการซื้อ ด้านอัตราการใช้ และด้านการแสวงหาผลประโยชน์ ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของกลุ่มลูกค้าธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
2. ชนม์นิกานต์ อ้อวิจิตร. (2550). พฤติกรรมการใช้บริการทางธนาคารทางอินเตอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
3. ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. วาสินี เสถียรกาล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
5. Calder, B.J. (2008). Kellogg on Advertising & Media 1st ed. New Jersey: John Wiley &
6. Taro Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory. New York: Haper & Row.