การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย)
คำสำคัญ:
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน รายได้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เสียภาษีที่มีต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย) (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 ที่เป็นผู้มีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90 , 91) จำนวน 400 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-Test F-Test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ร่วมทำแบบสอบถามในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2558 จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างและจำแนกตัวแปรต่าง ๆ พบว่า ร้อยละ 61.3 เป็นผู้หญิง อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 49.3 รองลงมาคือ 20 – 30 ปี ร้อยละ 35.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่คือ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 70.5 รองลงมาคือต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 16.2 สถานภาพส่วนใหญ่คือ โสด ร้อยละ 58.5 อาชีพส่วนใหญ่คือ พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 55.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่คือ 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 48.3 ประสบการณ์ในการคำนวณภาษีส่วนใหญ่คือ เคย ร้อยละ 56.0 มีความรู้ ความเข้าใจ ในกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระดับปานกลาง มีทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและด้านพฤติกรรมในระดับดี
ผลการศึกษา
- เพศ อายุ อาชีพ ประสบการณ์ในการคำนวณภาษีที่ต่างกัน มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต่างกัน
- กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระดับปานกลาง
- ค่าลดหย่อนมีความสัมพันธ์กันกับทัศนคติด้านความคิดและทัศนคติด้านพฤติกรรม และส่วนของรายได้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านความรู้สึก ต่อเมื่อพิจารณาในภาพรวมความเข้าใจในกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้เสียภาษี
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณรงค์ฤทธิ์ ประสิทธินาค. (2545). ความรู้และทัศนคติต่อการชำระภาษีของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ ทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธรรมนิติ. (2554). ประมวลรัษฎากร, กรุงเทพมหานครซ สำนักพัฒนาการบริหารธรรมนิติ
พนิตนารถ เย็นทรัพย์. (2551). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือน. วารสารประชาคมวิจัยปีที่ 14 (ฉบับที่ 79)
พิจิตรา อินคาคร. (2551). มูลของการไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษาผู้เสียภาษีที่อยู่ในเขตท้องที่ความ รับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรกรุงเทพพื้นที่ 10. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขา บริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มนัส มนูกุลกิจ. (2552). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์, บัฒฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศรี ขันทอง. (2550). ความพึงพอใจของผู้เสียภาษีต่อการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเตอร์เน็ตใน จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สิริอร วิชชาวุธ. (2544). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรมสรรพากร. (2558). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน, 2558, จากเว็บไซต์ http://download.rd.go.th/fileadmin/download/annual_report/annual_report56.pdf
กรมสรรพากร. (2557). รายงานประจำปี 2556 กรมสรรพากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน, 2558, จากเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/publish/309.0.html