การเมืองในมาตรฐานข้าวอินทรีย์

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ขัวลำธาร
  • กฤษณา ไวสํารวจ

คำสำคัญ:

การเมืองภาคพลเมือง, ข้าวอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาการเมือง กระบวนการเมือง และ เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเมืองในมาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ บ้านโนนกระสัง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยไร่ จังหวัดอำนาจเจริญ และ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนน้ำอ้อม จังหวัดยโสธร เป็นการการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า การเมืองในมาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทยเป็นการอธิบายเป็นกระบวนการดำเนินชีวิตชาวนาภายใต้การครอบซ้อนการเมืองเชิงสถาบันหรือการเมืองแบบทางการใช้รูปแบบแนวคิดการเมืองภาคประชาชนโดยที่ใช้กลไก “การทำแทน ความร่วมมือและความขัดแย้ง” โต้ตอบภาครัฐส่วนกลาง ที่เกิดจากต้องการปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาในชุมชนด้วยการรวมกลุ่มในการการทำนาลดต้นทุน เลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด มุ่งสู่การทำนาข้าวอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน สากล ตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศและอำนาจรัฐหรือราชการอ่อนแอไม่อาจจะปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพ จึงเสมือนเป็นการสมยอมจากภาครัฐและเร่งเข้าไปส่งเสริมสร้างกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเครือข่ายข้าวอินทรีย์ต่อไปในอนาคต

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553).การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการ พิมพ์.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ (2554).วิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร:บริษัท คอมม่าดีไซน์แอนด์พริ้น จำกัด.
เบญจวรรณ สุรินทร์ (2546) วิเคราะห์เปรียบเทียบทางเศรษฐกิจระหว่างเกษตรกระแสหลักและเกษตรทฤษฎีใหม่:
กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จักษ์ พันธ์ชูเพชร.(2545).การกระตุ้นให้เกิดกลุ่มใหม่และการวิเคราะห์กลุ่มเดิม.(เอกสารอัดสำเนา).
ประวิทย์ นพรัตน์วรากร (2541).ขบวนการขับเคลื่อนของชาวนาชาวไร่เพื่อสิทธิในที่ทำกิน:กรณีศึกษาสภาพรวมและ
กรณีกลุ่มป่าดงลาน.วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี เจนวิทย์การ (2528).สังคมวิทยาการเมือง การศึกษารัฐศาสตร์แนวกลุ่ม.ในชุดวิชาหลักและวิธีการศึกษาทาง
รัฐศาสตร์.นนทบุรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ (2554).ความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานรัฐในการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่ง
สระ จังหวัดพัทลุงกรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยอนันต์ สมุทรวณิช(2533).รัฐกับสังคม: ไตรลักษณ์รัฐไทยในพหุสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
รงค์ บุญสวยขวัญ(2552).การเมืองภาคพลเมือง: บทวิเคราะห์แนวคิดและปฏิบัติการท้าทายอำนาจการเมืองในระบบ
ตัวแทน. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมมาร์ สยามวาลา. (2522). ข้าวในเศรษฐกิจของไทย.มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
คณะสำรวจเศรษฐกิจ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ. (2503). โครงการพัฒนาของรัฐสำหรับ
ประเทศไทย. (แปล).
เดอะต๊อกเกอะวิลล์. (2522).. ประชาธิปไตยในอเมริกา.วิภาวรรณตุวยานนท์ แปล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์.
อภิชัย พันธเสน และคณะ.(2531).การเมืองเรื่องข้าว: นโยบายประเด็นปัญหาและความขัดแย้ง.กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี.(2542).อำนาจและเครือข่ายนโยบายในสังคม,”ในรัฐสังคมและการเปลี่ยนแปลง: การพิจารณาในเชิง
อำนาจนโยบายและเครือข่ายความสัมพันธ์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ เดือนตุลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01