บทบาทของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชัยเดช ช่างเพียร
  • ปิยนุช เงินคล้าย

คำสำคัญ:

บทบาทรัฐ, อุตสาหกรรมข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาบทบาทของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าว ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการพัฒนา และ เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มตัวแทนองค์กรภาครัฐ และ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้  การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสารและการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่าบทบาทรัฐผ่านกลไกการใช้อำนาจในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวอย่างยั่งยืนผ่านกลไก ด้านการบริการ ในการส่งเสริม สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาและสนับสนุนการรวมกลุ่มการผลิตข้าวตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ด้านการบังคับบทบาทอำนาจไม่พบการกระทำ ด้านอุดมการณ์  เป็นบทบาทที่ภาครัฐที่ใช้ร่วมอยู่กับกลไกอื่นๆในการแทรกแซงการรวมกลุ่มของชาวนา ด้านการวางแผน  เชิงบูรณาการในระดับรัฐต่อรัฐ-ชุมชนต่อรัฐในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมข้าว และด้านควบคุมเป็นการใช้อำนาจในการสร้างความเป็นธรรมและสร้างความเชื่อมั่นกระบวนการสร้างตลาดข้าวอินทรีย์ผ่านการรับรอง มาตรฐานอินทรีย์สู่ตลาดผู้บริโภคชุมชนกำหนดกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันของสังคม เพื่อเป็นการสร้างการบริหารของกลุ่มเกษตรกรและเป็นการให้อิสระ ปัญหาในการดำเนินงานของรัฐเกิดจากเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการรวมกลุ่มการทำนาอินทรีย์และภาครัฐเองขาดการบูรณาการที่ต่อเนื่องในการส่งเสริมให้ความรู้ในการรวมกลุ่มทำนาเกษตรอินทรีย์จนส่งผลให้เกษตรกรขาดความมั่นใจในแนวนโยบายแห่งรัฐ สุดท้ายแนวทางในการแก้ปัญหาภาครัฐต้องสร้างองค์ความรู้ในการทำนาลดต้นทุนจากผลิตข้าวเคมีสู่ผลิตข้าวอินทรีย์ที่ปลอดสารเคมีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคและส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวนาที่ไม่หวนหากับการใช้สารเคมียาทุกชนิดโดยผ่านกระบวนการร่วมกันคิดร่วมกันวางแผน ในการส่งเสริมการค้าข้าวอย่างเป็นธรรม และสุดท้ายกระบวนการแก้ไขอย่างยั่งยืนภาครัฐจักต้องส่งเสริม ให้ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มระยะเวลาการเก็บรักษาให้ยาวนานมากขึ้น

References

กรมส่งส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2554). อุตสาหกรรมข้าวแปรรูป. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม
2560 จาก http://libdcms.nida.ac.th/ejournalpni2/pni00/INDX/INDX_2544_09-
10/INDX_2544_09-10_COVER-003.pdf.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554).วิจัยคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิดสถาบันนวัตกรรมเรียนรู้. นครปฐม:
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ติณ ปรัชญพฤทธิ์. (2537). องค์กรการบริหาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รงค์ บุญสวยขวัญ. (2559). กรอบแนวคิดเพื่อการอธิบายและข้อค้นพบวัฒนธรรมข้าวชาวลุ่ม
น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.ในสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559.
รงค์ บุญสวยขวัญ. (2557). การจัดการทางสังคม: การจัดการองค์กรประชาชน การจัดการ
องค์กรทางสังคม การจัดการองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ การจัดการองค์กรเพื่อการเคลื่อนไหว
ทางสังคม พิมพ์ครั้งที่ 3 นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัย
ลักษณ์
สายฝน ตระกลสุทรัพย์. (2543). ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกข้าวของประเทศไทยในปี 2529-2539. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์
ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ
,2553.)
อัมมาร สยามวาลา และ วิโรจน์ ณ ระนอง. ( 2533). ประมวลความรู้เรื่องข้าว. พิมพ์ครั้งที่ 1
กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2542). รัฐสังคมและการเปลี่ยนแปลง: การพิจารณาในเชิงอำนาจนโยบาย
และเครือข่ายความสัมพันธ์. โรงพิมพ์เดือนตุลา.
Francesco Goletti. (1996). Rice market liberalization and poverty inVietnam.Washing
DC: International Food Policy Research Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13