ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชญาดา พิชญาอัมพุช
  • ตะวัน วิกรัยพัฒน์
  • อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว
  • ชนินทร์ วิชุลลตา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ, คนหลังวัยเกษียณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษา ปัจจัยจูงใจในการเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือคนหลังวัยเกษียณ จำนวน385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression)  ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณ ปัจจัยภายในประกอบด้วย ด้านค่านิยม ด้านการรับรู้อาชีพด้านความเข้าใจในอาชีพด้านความความภาคภูมิใจในอาชีพ และด้านทัศนคติต่ออาชีพ และปัจจัยจูงใจภายนอกในภาพรวม ด้านลักษณะงาน ด้านค่าตอบแทน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณแตกต่างกัน 3) ปัจจัยความภาคภูมิใจในอาชีพ(X4)ทัศนคติต่ออาชีพ(X5)ลักษณะงาน(X6)และค่าตอบแทน(X7)มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงไปของการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของคนหลังวัยเกษียณ ได้ร้อยละ 72.30 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ý = 1.935+0.831X4+ 0.256 X5- 0.174 X6 - 0.312 X7

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11,โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552.กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

จุนจิตร ธุวสุจิเรข. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตในการท างานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดเพชรบุรี.มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

ธีรยุทธ แก้วเกร็ด.(2561). การตัดสินใจเลือกอาชีพของพนักงานองค์กรเอกชน ในจังหวัดนครปฐม.

ธัญญ์ชยา อ่อนคง. (2553). พฤติกรรมการชมภาพยนตร์ การเข้าร่วมและความพึงพอใจ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นพอนันต์ เพียรมั่นคง. (2559). ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาสาขาการจัดการการบิน สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ. สืบค้นจาก www.hu.ac.th/conference/conference2016/ proceedings/data/4-1บรรยาย/20มนุษย์ฯ/2-035H-O.

น้ำทิพย์บุตรทศ. (2558). การตัดสินใจเลือกอาชีพ แรงจูงใจ และความก้าวหน้าในอาชีพพริตตี้เอ็มซี. RMUTT Global Business and Economics Review,10(1), 121-132.

ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย: หลักการ งานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปลื้มสุข. (2554). สุขภาพใจ.กรุงเทพฯ. สนพ. และ ตถาตา พับลิเคชั่น, บจก.

ไพลิน บรรพโต. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเลือกประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมบริการของนักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรม ระดับชั้นปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.

มลนิชา จันทร์เปรม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการท างานของพนักงานบริษัท สามเสนบริวเวอรี่ จ กัด. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

มนัส สุวรรณ. (2553).กาลและเทศะกับพฤติกรรม เชิงพื้นที่ของมนุษย์. บทความทางวิชาการเสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสำนักกธรรมศาสตร์ และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ:บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศิริวรรณ ไตรสรลักษณ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของบัณทิตกรณีศึกษา: มหาวิทยาลัย

ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน. (2554). การพัฒนาข้ารางการผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ (e-Learning).สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/e-learning.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John & Sons. Holland, J.L. (1973). Making vocational choice: A theory career. New Jersey: Prentice-Hall.

Maslow, A. (1943). A theory of human motivation Psychological Review 50. NY: McGraw-Hill.

_______. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.

Vroom, V. H. (1964). Work and Motivation. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02