ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • สุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล

คำสำคัญ:

ความต้องการ, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการ ความจำเป็น และความสำคัญ ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนร่วมระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปีการศึกษา 2563 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95% ได้ขนาดตัวอย่างที่ 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 แบบ คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการศึกษาต่อ 3) แบบสอบเกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตร แบบสอบถามทั้ง 4 แบบ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ (percentage) หาค่าเฉลี่ย () ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ผลการศึกษา พบว่า มีผู้ที่มีความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 64.15
  2. 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและตวามสำคัญ ของหลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า โดยรวม มีความจำเป็น อยู่ในระดับมาก (= 27) และมีความสำคัญ อยู่ในระดับมาก (= 3.69) 

References

ทิศนา แขมมณี. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร:
โครงการพัฒนาการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
นภาพร พุ่มพฤกษ์. (2540, กุมภาพันธ์-มีนาคม). “มาเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เด็กเรา”.
แนะแนว. 23 (121).
ประพิศ นพประชา. (2554). ความต้องการการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เริงรณ ล้อมลาย. (2560). รายงานวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเรียนร่วมตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 2. ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
Krijcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970) Determining simple size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23