แนวทางการสื่อสารเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมหัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • อรมน ปั้นทอง
  • วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การสื่อสาร , การสืบทอดวัฒนธรรม, ผ้าทอไทยพวน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการสื่อสารเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมหัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ของกลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ และศึกษาถึงแนวทางการสื่อสารที่สามารถทำให้เยาวชนในจังหวัดนครนายก เกิดความตระหนักในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมหัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ปราชญ์ชุมชนด้านผ้าทอไทยพวน สมาชิกกลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่  ครู/อาจารย์/ผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดนครนายก ผู้นำชุมชนในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ และเยาวชนในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาจากบริบทภายนอกที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจถดถอย นโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐที่จำกัดเฉพาะกลุ่ม สภาพสังคม ค่านิยม วิถีชีวิตที่เน้นวัตถุนิยม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ขณะที่ปัญหาภายในกลุ่มผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ เงินทุน การจัดหาวัตถุดิบและกระบวนการผลิต และการตลาด ส่วนปัญหาของฝ่ายผู้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้แก่ ความไม่สนใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมหัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ ได้แก่ การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ที่เฉพาะเจาะจง การสื่อสารด้วยบุคคลต้นแบบ ผนวกกับการรณรงค์ของสถานศึกษา และสถาบันครอบครัว

References

จิราพร ขุนศรี. (2557). การสื่อสารกับการปรับตัวเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีสื่อพื้นบ้านเพลงซอล้านนาในบริบทของจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ปวีณา ผาแสง ขนิษฐา นครประสาท สักก์สีห์ พลสันติกุล และอรุณรัศมี สอนนนฐี. (2558). งานวิจัยเรื่องกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นน่าน: กรณีศึกษาตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. น่าน: สถาบันวิทยาลัยชุมชน.
ปิลันลน์ ปุณญประภา พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ นพดล อินทร์จันทร์ และกิตตกิรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2561, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาต่อภูมิปัญญาและการสืบทอดผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(1), 159-168.
เพียงดาว สภาทอง ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร และปานเทพ ลาภเกษร. (2559). แนวทางการสืบทอดวัฒนธรรมและอาชีพการทอผ้าทอไทยวนของศูนย์วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านโนนกุ่ม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 31(3), 77-83.
สุธีรา อะทะวงษา. (2560, มกราคม-เมษายน). การสืบทอดวัฒนธรรมการฟ้อนสาวไหม และแนวทางการพัฒนา ให้เป็นผลิตภัณฑ์บริการการตลาดเพื่อสังคม. วารสารสมาคมนักวิจัย. 20(1): 137-149.
หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์ และ เบ็ญจรัศม์ มาประณีต. (2558). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยพวนของคณะกรรมการบริหารศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง จังหวัดนครนายก. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 714-719.
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.
Kolaya, S. (2016). Cultural heritage preservation of traditional Indian art through virtual new-media. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 225, 309-320.

Translated Thai References
Asawin Nedpogaeo. (2018). Mediumology. Pathumthani: Nakorn. (in Thai).
Atawongsa, Sutheera. (2017). Cultural Inheritance “Saomai” Dance and Guidelines for Development to be as a Social Marketing Product. Journal of the Association of Researchers, 20(1), 137-149. (in Thai).
Khunsri, Jiraporn. (2014). Communication and Adaptation for Local Culture Heritance: Lanna Local Song Context in Chaing Rai Province. Dissertation in Communication Art. Dhurakij Pundit University. (in Thai).
Phasaeng, Paveena., Nakhonprasart, Khanitta., Polsantikul, Saksee., and Sornnonthee, Arunrussame. (2015). Knowledge Process and Community Participation for Cultural Reserved and Inheritance in Nan : Tumbol South Doo, Aumpher Muang-Nan, Nan Province Case Study. Nan: Community College Institute. (in Thai).
Punyaprapa, Pilan., Supsetthasiri, Prutt., Inchan, Noppadol., and Nopudomphan, Kittikorn. (2018). The Factors Effect to Wisdom and Inheritance of Thai Phuan Hand Woven Fabric at Ban Mai, Nakhon Nayok. The Journal of Social Communication Innovation, 6(1), 159-168. (in Thai).
Punyopashtambha, Hathairat., and Marpraneet, Benjaras. (2015). Participation in conserving Thai Puan culture of executive board members Chalermraja Cultural Center Wat Fangklong, Nakornnayok province. Proceedings of 53rd Kasetsart University Annual Conference: Education, Economics and Business Administration, Humanities and Social Sciences, 714-719. (in Thai).
Sapathong, Peaingdao., Jeerapattanatorn, Pattarawat., and Larpkesorn, Panthep. (2016). Guidelines for Inheritance of Tai Yuan Culture and Weaving Career in Ban Non Kum Weaving Community Enterprise Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province. Kasetsart Educational Review, 31(3), 77-83. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02