ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของ นักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT)

ผู้แต่ง

  • ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร
  • วิลาสินี เขมะปัญญา
  • พชรัฐ วันเรืองโชค

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว
ภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มที่มีความ
หลากหลายทางเพศ (LGBT) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อคำถาม
จำนวน 2 ส่วน กลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 325 คน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนมาก ช่วง
อายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 -
20,000 บาทต่อเดือน มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และความ
สนใจพิเศษ เดินทางด้วยการขนส่งทางอากาศ เลือกสถานที่พักแรมที่เป็นเครือโรงแรมของต่างชาติ เดินทางพร้อม
กับคนรัก ระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว 2-3 วัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน 1,001 – 2,000 บาท และปัจจัย
ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มที่มี
ความหลากหลายทางเพศ (LGBT) มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ย 4.12
ในขณะที่ปัจจัยด้านกระบวนการส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางน้อยที่สุด ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน
พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน ได้แก่ ด้านอายุ และด้านการศึกษา ส่งผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้
ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีความหลากหลายทางเพศชาวไทย
(LGBT) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกกาญจน์ กานเกตุ. (2562). เจาะตลาด LGBT กับ สิบตัวอย่างจากแบรนด์ดัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม

จาก https://stepstraining.co/trendy/10-case-study-lgbt-marketing- campaign

ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร, เสรี วงษ์มณฑา, ชุษณะ เตชคณา และชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางการ

พัฒนาการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยพะเยา. 9(1). 185-201.

TAT Review, 2563. (2563). LGBT Tourism: Thailand as a vagaytion. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563

จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/vagaytion/

TAT Tourism Journal. ฉ.3 ก.ค ก.ย. 2557. เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2560, จาก

http://www.etatjournal.com/web/menu-download-zone/menu-dl-etatjournal/64- catedownload-zone/cate-dl-etatjournal/595-dl-tatjournal-32557

ปิยะฉัตร ปวงนิยม, จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร และ นิติบดี ศุขเจริญ. (2560). แนวทางในการสร้างโอกาสทาง

การตลาดจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศ สำหรับธุรกิจโรงแรม. วารสารศิลปกร.

(3). 2455-2471.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.

วิชิต อู้อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พรินท์แอทมี ประเทศไทย.

วีรพล สุขศรีพานิช. (2557). “กลุ่ม LGBT กับการท่องเที่ยวไทยในเวทีการท่อวเที่ยวโลก งาน IBT 2014.”

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, สุดา สุวรรณาภิรมย์, ชวลิต ประภวานนท์ และสมศักดิ์

วานิชยาภรณ์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีย์รัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหาร

การตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

Mill, R. C. & Morrison, A. M. (1992). The tourism system (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice

Hall.

Waitt, G. (2006) .“ Gay Tourism: Culture and Context.” The Haworth press inc. 10 Binghamton

NY 1390-1580. pp. 182-183

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03