ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อความต้องการดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาจังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ความต้องการการดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความความต้องการการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร ศึกษาความสัมพันธ์ของปัญหาสุขภาพกับความต้องการการดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุกับความต้องการการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชากรจังหวัดชุมพร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามส่งผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี ร้อยละ (Percentage) Independent sample t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความต้องการการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกัน ปัญหาทางด้านสุขภาพที่แตกต่างกันมีความต้องการการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกัน และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างกันมีความต้องการการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกัน
References
ขวัญสุมาณา พิณราช. (2561), ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัด ตาก, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 27 มีนาคม 2563. จาก https://www.western.ac.th/
media/attachments/2019/02/09/11-.pdf
จรรยา สันตยากร. (2554). การจัดการดูแลโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน: แนวคิดและประสบการณ์การพยาบาลในชุมชน. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย.
จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยของแก่น, 3(4), 561-576.
จิรพร เกศพิชญวัฒนา. จันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย, ยุพิน อังสุโรจน์ และ Ingersoll, D. B. (2543). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุไทย: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 1(3),21 - 27.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 18 มีนาคม 2563. จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF
ไชยพร โอภาสวัฒนา และ นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร. (2561). บทฟื้นฟูวิชาการ : ประสาทหูเสื่อมตามอายุ. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 9 เมษายน 2563. จาก http://clmjournal.org/_fileupload/journal/406-4-6.pdf
พิทยา ภมรเวชวรรณ, อุบลรัตน์ ปทานนท์. (2547). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. จักษุเวชสาร. 2547;18(1):77-85.
ระบบสถิติการลงทะเบียน กรมการปกครอง, ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2556). การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และคณะ. (2552). โครงการการศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย: สถาบันวิจัยระบบสาธรณสุข
สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักสถิติพยากรณ์. (2557). รายงานการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จํากัด
สำนักโรคไม่ติดต่อ กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2558). จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ. 2550 - 2558 จำแนกรายจังหวัด. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 3 เมษายน 2563. จาก
www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php
Baltes, M. M., & Carstensen, L. L. (1996). The process of successful ageing. Ageing & Society, 16(4), 397-422.
Chan M, Nicklason F, Vial JH. (2001). Adverse drug events as a cause of hospital admission in the elderly. Intern Med J 2001;31(4):199-205.
Coccia, R. J., & Cameron, E. A. (1999). Caring for Elderly Individuals in Nursing Homes. Journal of Gerontological Nursing, 25(12), 38-40. doi: doi:10.3928/0098-9134-19991201-16
Heyl, V., Wahl, H., & Mollenkopf, H. (2007). Affective well-being in old age: The role of tenacious goal pursuit and flexible goal adjustment. European Psychologist, 12(2), 119–129
Phillips, L. R., Morrison, E. F., & Chae, Y. M. (1990). The QUALCARE Scale: Developing an instrument to measure quality of home care. International Journal of Nursing Studies, 27(1), 61–75.
Pusdorn, A., Thiengkamol, N., Thiengkamol Khoowaranyoo, T. (2013). Elderly Self Health Care in Roi-Et Province. European Journal of Scientific Research, 104 (4), 569-579.