องค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จ ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
องค์ประกอบ, คุณลักษณะ, ผู้ประกอบการ, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดนครปฐม จำนวน 320 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 5 คน และตัวแทนจากบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ คือ ด้านความใฝ่ใจในความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่เหลืออยู่ในระดับมาก 2) องค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย องค์ประกอบทั้ง 7 ตามทฤษฎี เมื่อนำค่าน้ำหนักปัจจัยจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมาเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม ในสามลำดับแรก ได้แก่ ความสม่ำเสมอและใฝ่ใจเรียนรู้ ความสามารถในการแข่งขัน และความใฝ่ใจในความสำเร็จ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงถึง 0.96, 0.86 และ 0.82 และมีอำนาจในการพยากรณ์ (R2) สูงถึงร้อยละ 67, 62 และ 68 ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม คือ ควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีคุณลักษณะด้านความเป็นอิสระในการบริหารงาน ทำงานเชิงรุก มีความสามารถในการแข่งขัน กล้าเผชิญกับความเสี่ยง มีความสม่ำเสมอและใฝ่ใจเรียนรู้ และใฝ่ใจในความสำเร็จ สนับสนุนให้มีการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และทำให้การดำเนินธุรกิจมีความยั่งยืน
References
จันทิมา ก้อนทอง. (2561). กลยุทธ์การเป็นผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษา ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ภาคกลาง. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 12 (2), 254 - 261.
ชญานันท์ ใสกระจ่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของบริษัทนำเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ถนอมนวล ลีกุลพิทักษ์. (2560). องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการองค์กรธุรกิจไม้ยางพาราในประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะสหวิทยาการ, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ธนาคารกรุงเทพ. (2562). เซนบิวตี้ จากโอทอปบ้าน ๆ สู่ SME ที่เข้มแข็ง. สืบค้นจาก <https://www.bangkokbanksme.com/en/17835> 4 มกราคม 2564
พัชรียา เพ็ชรพราว. (2557). กระบวนการในการใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP สู่ระดับสากลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, 7 (1), 369 - 378.
วรรณวิภา ไตลังคะ และนงพงา ลีลายนะ. (2559). กลยุทธ์การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(1), 154 - 159.
วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2561). วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 131 – 140.
วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, 8(2), 967 - 988.
วิมพ์วิภา เกตุเทียน. (2556). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 4 ปี (2561-2564). เอกสารอัดสำเนา.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพังงา. (2560). ความเป็นมา หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP. สืบค้นจาก<https://phangnga.cdd.go.th/services> 7 ตุลาคม 2563
Dess, G. G., Lumpkin, G.T., and Taylor, M. L. (2005). Strategic management: Creating competitive advantage (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Frese, M. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa: A Psychological Approach. United States of America: Greenwood Publishing Group.
Schumacher, R. E., and Lomax, R. G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modelling. (3rd ed.) New York, NY: Taylor & Francis Group, LLC.
Sonal, S., Bhaskar, B,, Dale E., and Birud, S. (2019). Grassroots innovation and entrepreneurial success: Is entrepreneurial orientation a missing link?, Technological Forecasting and Social Change, 119582, ISSN 0040-1625,https://doi.org/10.1016/j.techfore.2019.02.002.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-01-27 (2)
- 2021-08-10 (1)