ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตรจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นิตยา วงศ์ยศ

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ผักปลอดสารพิษ,, ผู้บริโภคในตลาดเกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตร จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตร จังหวัดพะเยา 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตร จังหวัดพะเยา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่ซื้อผักปลอดสารพิษ จำนวน 380 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test  และค่า F-test หรือหรือวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตร จังหวัดพะเยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และด้านส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง การตัดสินใจเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ พบว่า มีวัตถุประสงค์ซื้อทานในครอบครัว เหตุผลการซื้อเพื่อสุขภาพ และกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อคือ คนในครอบครัว  ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตร จังหวัดพะเยา จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตรจังหวัดพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2555). คู่มืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). ยุทธศาสตร์เกษตรและ สหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) และแผนพัฒนาการเกษตรในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ : ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
คณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ.(2560) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์. แห่งชาติ(พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร : สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
ชลธิชา พันธสวางเสรี วงษมณฑา,ชวลีย ณ ถลาง,และกาญจนนภา พงศพนรัตน (2563)การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการทองเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดราชบุรี, วารสารสมาคมนักวิจัย 25(3),129-146
บังอร สุขจันทร. (2546). การรับรู้และความต้องการผักปลอดภัยจากสารพิษของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมตตา คำพิบูลย์, (2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, สืบค้น เมื่อ 15 กันยายน 2563 จากhttp://dric.nrct. go.th/Search/SearchDetail/262281
ลออรัตน์ จิตต์พงษ์ ,เบญญาภา กาลเขว้าและ ประทีป กาลเขว้า(2562)พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชนบ้านแสนสำราญ ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์, วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 1(1), 53-60
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). อ้างอิงจาก Kotler,Philip. (1999). Marketing Management. (ปรับปรุงใหม่ล่าสุด).กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). ปริมาณการบริโภคน้ำอัดลมต่อคนในประเทศไทยในปี 2554 (รายงานวิจัย).
กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
สุนันท์ สร้างอำไพ. (2551).ปัจจัยการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขต สะพานสูง กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร:กรุงเทพฯ.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management (The Millennium edition). Upper Saddle River, NJ: PersonPrentiec Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30