กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ของกลุ่มผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • รุ่งฤดี รัตน์ชัยศิลป์

คำสำคัญ:

กระบวนการตัดสินใจ, การซื้อของผู้บริโภค, รถยนต์ประหยัดพลังงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ (Chi-Square)

 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่า สาเหตุที่เลือกซื้อเพราะเป็นรถประหยัดพลังงาน โดยแหล่งข้อมูลจากการโมษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อต่างๆ ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจคือ คุณสมบัติพิเศษของรถยนต์ ความน่าเชื่อถือของตรายี่ห้อ เชื่อมั่นในคุณภาพหรือจงรักภักดีต่อตราสินค้า และบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อคือ ตนเอง บิดามารดา สามีภรรยา ปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่า อยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก  คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจำหน่าย  ตามลำดับ ปัจจัยทางด้านการตลาดมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

ธัชพล ภัทรไชยประภา. (2554). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคใน อำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน. เชียงใหม่:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธีรพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ อีโคคาร์ (Eco - Cars) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัยนา ภู่สว่าง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการกับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโก้คาร์ของลูกค้าบริษัท สยามนิสสันสมุทรสาคร จำกัด. กรุงเทพฯ: ค้นคว้าอิสระปริญญาโท, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธนบุรี.
นิศารัตน์ เรือนนาค. (2556). กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอ
เมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2561-63 [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://www.krungsri.com /bank/getmedia/d82a0182-d4e9-4465-ac2c-345b41dd3323/IO_Automobile_2018_TH.aspx?fbclid
=IwAR03HtHmH0iq24P8IDiS9eRuuj_5e81dri PNU0-fRKpmWt0JFu__L4b4oLQ)
ปารมี คำชมภู. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน มาตรฐานสากลของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมวดี บุตรวงศ์นรา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ในสถานการณ์น้ำมันแพง
ของผู้บริโภค ในจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30