ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อปลาส้มของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ผกาภรณ์ บุสบง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, การตัดสินใจเลือกซื้อปลาส้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซ้อปลาส้มของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อปลาส้มในจังหวัดพะเยา 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อปลาส้มของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อปลาส้มของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาขนผู้บริโภคที่ซื้อปลาส้มในจังหวัดพะเยา จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test  และค่า F-test หรือหรือวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การตัดสินใจซื้อปลาส้มของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ปลาส้มของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่าเป็นอาหารท้องถิ่นที่นิยมรับประทาน คิดเป็นร้อยละ 26.30 รองลงมาเพราะหาซื้อง่ายตามท้องตลาด คิดเป็นร้อยละ 22.70 ราคาย่อมเยาเหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณ คิดเป็นร้อยละ 21.50  และเพราะซื้อเป็นของฝาก คิดเป็นร้อยละ 20.40 ส่วนเหตุผลที่มีร้อยละน้อยที่สุด คือเพื่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 9 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อปลาส้มของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่าผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อปลาส้ม ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อปลาส้มของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

พรพล รมย์นุกูล. (2545). การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
นัทธมน เดชประภัสสร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเตอร์เน็ต. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รสริน จอร์นสัน, ณฐมน ทรัพย์บุญโต และ ภัทราพร สมเสมอ. (2560). ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาส้ม กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตปลาส้มไร้ก้าง ตราแม่ทองปอน ต.บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา. วารสาร : การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 22 มิถุนายน 2560.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท ธรรมสารจำกัด.
สุวสา ชัยสุรัตน์. (2537). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2552). หลักการตลาด(สมัยใหม่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2562). ปลาส้มพะเยา. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562. จากhttp://www.m-culturd.go.th/phayao/ewt ews.php?nid=429&filename=index
อำไพ โสรัจจะพันธุ์. (2544). อาหารท้องถิ่นภาคใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.
Kotler, Philip; Keller, Kevin Lane. (2012). Marketing Management (14th ed.). Prentice-Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30