การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดุงเหนือ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อรรณพ ต.ศรีวงษ์ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดารณี ดวงพรม
  • ชลิดา ศรีสุนทร

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, เกลือสินเธาว์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดุงเหนือ  2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจบ้านดุงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสนทนาเชิงกลุ่มเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มวิสาหกิจบ้านดุงเหนือตราพลังสามัคคี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และสนทนากลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดุงเหนือ จำนวน 9  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 21 – 30 ปี มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพอิสระ รายได้เฉลี่ย 9,001 – 15,000 บาทต่อเดือน การทดสอบสมมุติฐาน องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดุงเหนือ พบว่า ด้านประโยชน์หลักผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ด้านผลิตภัณฑ์ส่วนควบและด้านศักยภาพผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ การสนทนากลุ่ม พบว่า ความคิดเห็นส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า โดยมุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานอาหารและยา สำหรับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจบ้านดุงเหนือ ได้คำนึงถึงความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเป็นหลักจึงได้เกิดการแบ่งแยกประเภทของผลิตภัณฑ์เกลือ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เกลือสำหรับทำอาหาร, เกลือเครื่องสำอาง, เกลือใช้ในการเกษตร นอกจากนี้ ยังเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากดอกเกลือออกสู่ตลาด ซึ่งนำมาสู่การสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น

References

ปลื้มใจ สินอากร ,บัณฑิต ผังนิรันทร์ และอรุณรุ่ง วงศ์กังวาน. (2554). “บุพปัจจัยของความสำเร็จในการ

พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในเขตกรุงเทพและปริมณฑล.” จุลนิพนธ์ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไปคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ. (2555) สืบค้นจาก: http://bandung.udonthani.doae.go.th /noalthank%20umper.pdf

วรีพร กรีเทพ. (2558). เส้นทางเกลือสินเธาว์สู่การแปรรูปเพื่อสร้างอาชีพเชิงสร้างสรรค์ในเขตตำบลบ้านดุง

จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด.กรุงเทพฯ:

Diamond in Business World.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2547). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ท้อป.

สุปัญญา ไชยชาญ. (2551).การบริหารการตลาด.กรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่6): พี.เอ.ลีฟวง

ยุพดี ทองโคตรและคณะ (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภท

เกลือสปากุญ ณภัทร ของผู้บริโภคในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นจาก : http://www.hu.ac.th/conference/conference2016/proceedings/data/4-1).pdf

Feiz, D., & Moradi, H. (2019). Creating consumer-based brand equity for customers by brand

experience Evidence from Iran banking industry. Journal of Islamic Marketing.

Kotler, Philip. 2003. Marketing Management. 11th ed. Northwestern University: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-04 — Updated on 2022-02-08

Versions