ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัคริยา รณศิริ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • พุฒิธร จิรายุส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • อรชร อิงคานุวัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ (6Ps) , การตัดสินใจซื้อ, ช่องทางเฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ต้องการศึกษาส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test one-way ANOVA  และ Correlation Coefficient

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานครที่ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ส่วนส่วนผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านให้บริการแบบเจาะจง และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เอกสารอ้างอิง

กมลชนก ชัยศิรินวกาญจน์. (2562). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเครื่องเงินในชุมชนพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระ, หลักสูตรบริหารธุรกิมหาบัณฑิต, สาขาวิชากา บริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชูชัย สมิทธิไกร, (2562). การตัดสินใจของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ :บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี

ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ เครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอพพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัย รามคําแหง.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร, การค้นคว้าอิสระ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม

รวิภา สู้สกุลสิงห์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุง ผิวหน้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วะสา ปฏิสัมภิททาวงศ์. (2563). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่าน Application Shopee ในสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ของประชากรในกรุงเทพมหานคร.วารสารสาขาการเงินและการธนาคาร คณะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิลาวัณย์ ฤทธิศิริ. (2559). ในกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของคนวัยทำงาน กรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่าน สังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Walters, C.G. (1978). Consumer behavior (3 rd ed.). Homewood Illonois: Richard D.Irwin, Inc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-23