การศึกษาความต้องการของผู้ศึกษาต่อและผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการเปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ป ประภัสสนันทน์ เรืองจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความต้องการ, หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต, สาขาวิชาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

         การศึกษาความต้องการของผู้ศึกษาต่อและผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการเปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญและทิศทางความสนใจในหลักสูตรดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่คาดว่าจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จำนวน 470 คน และกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 113 คน โดยใช้แบบสำรวจในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ตอบแบบสำรวจที่ค่าร้อยละที่สูงแสดงความต้องการและเห็นด้วยว่าหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ควรมีการจัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาระดับประถมศึกษาอันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้พื้นฐานของมนุษย์ นั่นคือ การอ่านออก เขียนได้ และคิดคำนวณเป็น อีกทั้งยังเป็นการศึกษาที่สร้างบรรยากาศทางสังคมที่เด็กต้องเรียนรู้ ทั้งการเรียนรู้บทบาทของตนเองและผู้อื่นผ่านกระบวนการทางสังคมต่าง ๆ ไปพร้อมกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนอีกด้วย โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่จากทั้งสองกลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจกับพัฒนาการและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กประถมศึกษา นอกจากนี้ผลวิจัยยังพบความต้องการที่มีต่อหลักสูตรว่า หลักสูตรมีความทันสมัยและครอบคลุมเนื้อหาหลายด้าน การจัดการเรียนการสอนมีความทันสมัย ยืดหยุ่น และเน้นการฝึกทักษะและประสบการณ์ทางวิชาชีพ และความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาต่อครูประถมศึกษาว่า ครูประถมศึกษาควรเป็นผู้สำเร็จการศึกษาวิชาเอกประถมศึกษา มีวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม สร้างสรรค์ และทันสมัย สามารถบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น ปรับตัว และพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งจากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของสาขาวิชาประถมศึกษาให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้ที่ต้องการศึกษาต่อและผู้ใช้บัณฑิตมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จตุรงค์ ขมิ้นทอง และคณะ (2564). ความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครใน

การเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ปี 2564 (A study of Bangkok’s high school students’ requirements

for online learning in 2020). คุรุสภาวิทยาจารย์ (Journal of Teacher Professional

Development). ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564.

ประเวศ ปรีดาชัยกุล (2559). ประสิทธิผลการคัดกรองช่วยเหลือเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางพัฒนาการและ

การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 12 โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. ปีที่

ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2559.

ลักษมี ฉิมวงษ์ (2563). ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ของนิสิต

สาขาพลศึกษา (The Anxiety of Online Learning during The Covid-19 Pandemic of Physical

Education Students). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-

มิถุนายน 2564.

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2558). ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี. สืบค้น 30 สิงหาคม

, จาก https://www.moe.go.th/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%

E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). สถิติการศึกษาประจำปี 2562 (EDUCATIONAL STATISTICS

. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).

อมรา ติรศรีวัฒน์ (2563). การประเมินข้อดีและข้อด้อยของการจัดการเรียนการสอนบัญชีออนไลน์ในวิชาด้าน

การบัญชีี โดยนักศึกษาชั้นปีที่ี 4 สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : ในสถานการณ์ของการรักษา

ระยะห่างทางสังคมช่วนโรคระบาด COVID-19. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. ปีที่ 9 เล่มที่ 2 กรกฎาคม-

ธันวาคม 2563.

Beauchamp, G. A. (1972). Basic Components of a Curriculum Theory. Curriculum Theory

Network, 3(10), 16–22. DOI: 10.1080/00784931.1972.11075725

Bredekamp, S. (2012). Effective practice in early childhood education: building a foundation.

Boston, MA: Pearson Education, Inc.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Gölge Seferoğlu (2006) Teacher candidates' reflections on some components

of a pre‐service English teacher education programme in Turkey, Journal of Education for

Teaching, 32(4), 369-378, DOI: 10.1080/02607470600981953

Jarolimek, J., & Foster, C. (1997). Teaching in the elementary school. Upper Saddle River, NJ:

Macmillan, Inc.

Kress, G. (2000). A Curriculum for the Future. Cambridge Journal of Education, 30(1), 133-145.

doi: 10.1080/03057640050005825

Lathapipat, C and Sondergaard, L. (2016). Thailand’s small school challenge and options

for quality education. 30 August 2021, Retrieved from https://blogs.worldbank.org/eas

tasiapacific/thailand-s-small-school-challenge-and-options-quality-education

Lunenburg (2011). Key Components of a Curriculum Plan: Objectives, Content, and Learning

Experiences. Schooling, 2(1), 1-4. http://www.nationalforum.com/Electronic%20Journal

%20Volumes/Lunenburg,%20Fred%20C.%20Components%20of%20a%20Curriculum%20Plan%20Schooling%20V2%20N1%202011.pdf

Starfield, B. (1996). Health status of well VS. ill adolescents. N.P.: Arch Pediatric Med.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08