การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฤพล บุบผาชาติ
  • วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง
  • มยุรี รัตนเสริมพงศ์

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, , เบี้ยยังชีพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 2) เปรียบเทียบการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีกับปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน            การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ที่รับเบี้ยยังชีพจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น 0.892 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่          ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

        ผลการวิจัยพบว่า

  1. การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ปัจจัยด้านการกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน ปัจจัยด้านมาตรการติดตามและประเมินผล ปัจจัยด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ปัจจัยด้านสมรรถนะของหน่วยปฏิบัติ และปัจจัยด้านประชาสัมพันธ์
  2. เปรียบเทียบการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำแนกตามเพศ อาชีพ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กมลชนก เบญจภุมริน. (2556). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการการจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตําบลกระดังงา อําเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชรินทิพย์ วันดี. (2554). การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ในมุมมองผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทัศนีย์ สุวดิษฐ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ ศึกษากรณีเทศบาลตำบล เจ้าพระยาสุรศักดิ์. ปริญญานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เนณัฐชา จีรพัฒนพงศ์. (2553). การดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้าน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วน ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัญชา ผลานิสงค์. (2553). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เพชรดา เกตุสุริวงษ์. (2556). การประเมินความพึงพอใจของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราเชนทร์นพณัฐ วงศกร. (2561). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการจ่ายเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบล บางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง และ สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบความเปนองคกรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 26(1) หน้า 44-52.
สมศักดิ์ ชินศักดิ์ชัย. (2555). ความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดำเนินการจัดสวัสดิการค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเฉลียง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันรัชต์ภาคย์.
สาธร ทรัพยรวงทอง. (2557). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครสวรรค :มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค,
สิทธิพร เกษจ้อย. (2561). ความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ. (2563). ข้อมูลพื้นฐานตำบลโพธิ์ตรุ. ลพบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ.
อัจฉรา วงนารี. (2559). ความต้องการสนับสนุนด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-04