ปัจจัยด้านความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ SMART DEVICES ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อรรถพล บวรธรรมจักร Southeast asia university
  • พุฒิธร จิรายุส
  • ธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์

คำสำคัญ:

Smart Devices, การแข่งขันด้านเทคโนโลยี, การยอมรับเทคโนโลยี, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครในการเลือกซื้อ Smart Devices ศึกษาปัจจัยด้านความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ Smart Devices ของประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์การตลาดเพื่อวางแผนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและแนวโน้มของตลาดในอนาคตอันใกล้ได้ โดยใช้การสุ่มแบบสอบถามประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้การทดสอบ ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson’ Correlation Coefficient)

         ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี และปัจจัยด้านความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านเทคโนโลยี มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ Smart Devices ของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

สุพัตรา วังเย็น. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลทางบัญชี กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ บัญชีมหาบัณทิต (สาขาวิชาการบัญชี), วิทยาลัยบริการธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปพิชญา สอนสงวนวงษ์, และกตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2563). ปัจจัยการตลาดเกี่ยวกับเทคโนโลยีบ้าน อัจฉริยะของผู้บริโภคในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสาร บริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 82-92

กษมาพร ลาผ่าน, สุวรรณ หวังเจริญเดช, และนาถนภา นิลนิยม. (2562). ผลกระทบของการบริหารต้นทุน คุณภาพที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 31-41.

จิราพร ตะภา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อหุ่นยนต์ดูดฝุ่น (Vacuum Robot) ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (วิชาเอกสารตลาด), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สัญญา ยิ้มศิริ, และแววมยุรา คำสุข. (2561). อิทธิพลของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความ ได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย. โครงการวิจัยประเภทเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรา สุขกลั่น, และคณะ. (2561). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ. วารสารนักบริหาร, 38(1).

ญาณิศา ถาวรรัตน์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ. การค้นคว้าอิสระบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุโณทัย พยัคฆงพงษ์. (2560). แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีในการแข่งขันทางการตลาด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(25), 128-136.

วชิรพรรณ ทองวิจิตร. (2559). Internet of Things (IoT) เมื่อสรรพสิ่งอิงกับอินเทอร์เน็ต. นิตยสารสสวท., 44(202), 38-41.

วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2559). อิทธิผลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่.วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เจษฎา ขจรฤทธิ์, ปิยนุช ชัยพรแก้ว, และหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน. (2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสำหรับบ้านอัจฉริยะ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 7(1), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-05