การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการดำเนินงานโลจิสติกส์ของธุรกิจในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์ -
  • ณัฐพงศ์ แต้มแก้ว

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, โลจิสติกส์, สภาพปัญหา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการและแนวทางการจัดการการดำเนินงานโลจิสติกส์ของธุรกิจในจังหวัดชลบุรี โดยกำหนดประชากรในการศึกษานี้ ได้แก่ ผู้บริหารงานโลจิสติกส์ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้น ของธุรกิจในจังหวัดชลบุรี จำนวน 278,880 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารงานโลจิสติกส์ระดับสูง ระดับกลางและระดับต้นของธุรกิจในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ราย  ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการถดถอยพหุคูณ 

ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนโลจิสติกส์ เป็นอันดับแรก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 รองลงมา คือ การประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 การดำเนินงานโลจิสติกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 แนวทางการจัดการการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 การจัดการปัญหา และอุปสรรค ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 และการควบคุมโลจิสติกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ตามลำดับ ผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า การวางแผนโลจิสติกส์ การดำเนินงานโลจิสติกส์ การควบคุมโลจิสติกส์ การประเมินผลโลจิสติกส์ การจัดการปัญหาและอุปสรรคมีผลต่อแนวทางการจัดการการดำเนินงาน  โดยด้านการจัดการปัญหาและอุปสรรค สามารถทำนายได้ร้อยละ 95 ซึ่งมากสุดของแต่ละด้าน ข้อค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจ ต้องให้ความใส่ใจในการบริหารงาน การพัฒนาองค์กรในด้านการวางแผนงาน การดำเนินงาน การประเมินผลและการควบคุม โดยการสื่อสาร ทำความเข้าใจ ประกาศให้พนักงานรับทราบอย่างสม่ำเสมอ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). บทที่ 2 ภาพรวมและสถานะของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ไทย. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/04_

(word)%20DBD-Logistic_Rev-Final_Chap2_v1.pdf

กิ่งกาญจน์ วรนิทัศน์, ธีรศักดิ์ กัญจนพงศ์, บุตรี จารุโรจน์, ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์, โศภชา อรัญวัฒน์, โสภณ แย้มกลิ่นและเบญจมาภรณ์ อิศรเดช. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จิตติชัย รุจนกนกนาฏ. (2561). ระบบการขนส่ง. สถาบันการขนส่ง: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวี อุตกฤษฏ์. (2562). Ep1 โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ความหมาย ความสัมพันธ์ ข้อเท็จจริง. สืบค้นจาก https://mis.itd.kmutnb.ac.th/logistics-ep01/

ประจวบ เพิ่มสุวรรณ และพัฒน์พิสิษฐเกษม. (2554). จะจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์อย่างไรให้ประสิทธิภาพ. สืบค้นจากhttps://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_12/pdf/aw018.pdf

พชรรร เศรษฐยานนท์. (2554). การจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการของร้านดอกไม้ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ, สาขา

เพ็ญพร ปุกหุต, วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม และมาร์ฎา ชยทัตโต. (2565). “ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจให้บริการ

โลจิสติกส์ประสบความสำเร็จของประเทศไทย.” วารสารปาริชาต, 35(1), 36–57.

ยงยศ เกียรติกุล. 2540. การจัดการศูนย์กระจายสินค้าอุปโภคบริโภค: กรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร ใจมุก. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี (พ.ศ. 2565-2570). สืบค้นจาก

http://www.chonburi.go.th/website/info_organ/about5/topic63

สถาพร โอภาสานนท์. (2563). การจัดการโลจิสติกส์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด. สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ และการขนส่ง. สืบค้นจาก https://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/

Amita, S, & Magnus, W, & Jannicke, B. H. (2022). Trends in Machine Learning to Solve

Problems in Logistics, Procedia CIRP, 103, 67-72, Retrieved October 10, 2022, from https://doi.org/10.1016/j.procir.2021.10.010.

Bing, Z., Hui, W., Amir-Mohammad., G, & Alireza, G. (2022). Impacts of logistics service quality

and energy service of Business to Consumer (B2C) online retailing on customer loyalty in a circular economy, Sustainable Energy Technologies and Assessments, 52, from https://doi.org/10.1016/j.seta.2022.102333.

David., S, Xin, C, & Julien, B. (2013). The Logic of Logistics: Theory, Algorithms, and Applications for Logistics Management. Springer Science & Business Media,

Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2 nd ed.) London: Sage

Heng-Hsien, H. & Meiting, Z. (2022). Critical factors affecting performance of logistics

operation planning considering interdependency: A case study in automotive aftermarket, Asian Transport Studies, 8, 2022. https://doi.org/10.1016/j.eastsj.2022.100055.

Holubčík, M., Koman, G., & Soviar, J. (2021). Industry 4.0 in Logistics Operations.

Transportation Research Procedia,Volume 53, 2021, Pages 282-288,ISSN 2352-1465, from https://doi.org/10.1016/j.trpro.2021.02.040.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Pham, V. H., & Thanh-Thuy, N (2020). Factors affecting marketing strategy of logistics

business – Case of Vietnam. The Asian Journal of Shipping and Logistics, 36 (2020), 212–222

Shameem, A., Augustine., T. D. & Shashidharan., M. (2021). Key Factors Influencing Logistics

and Supply Chain Management, Nat. Volatiles & Essent. Oils, 8(4): 9418-9423.

Voortman., C. (2004). Global Logistics Management. South Africa: Juta and Company Ltd.

Warmelink, H., Koivisto, J., Mayer, I., Vesa, M., & Hamari, J. (2020). Gamification of

production and logistics operations: Status quo and future directions. Journal of Business Research, Volume 106, pp. 331-340, ISSN 0148-2963,

https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2018.09.011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23