การศึกษากระบวนการฝึกฝนการใช้จินตนาการเพื่อสร้างตัวละคร เอ็มม่า ในละครเพลงเรื่อง เทล มี ออน อะ ซันเดย์ โดย แอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ และดอน แบล็ค ใน ปี ค.ศ. 1979

ผู้แต่ง

  • ชนิสรา ศรแผลง -

คำสำคัญ:

ละครเพลง, มนต์สมมติ, จินตนาการ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์กระบวนการฝึกฝนการใช้จินตนาการในการแสดงที่จะสามารถนำไปพัฒนาและสร้างตัวละคร เอ็มม่า ในละครเพลงเรื่อง เทล มี ออน อะ ซันเดย์ (Tell Me on a Sunday) อีกทั้งเพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะการร้องเพลงเพื่อนำเสนอตัวละคร เอ็มม่า ผ่านบทละครเพลงดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฎีการแสดง และฝึกซ้อมการแสดงควบคู่กับการฝึกฝนแบบฝึกหัดทางด้านการแสดงเพื่อนำไปพัฒนาและสร้างตัวละคร เอ็มม่า ซึ่งความท้าทายของละครเพลงข้างต้นคือ จะมีเพียง 1 ตัวละคร ที่นำเสนอเรื่องราวบนเวที โดยมีการพูดคุยกับตัวละครอื่นที่ไม่ปรากฏบนเวที ดังนั้นนักแสดงจึงต้องใช้จินตนาการในการแสดงอย่างมากเพื่อทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วม และเข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

          วิธีการหลักที่ถูกใช้ในการพัฒนาและสร้างตัวละครในงานวิจัยนี้คือ มนต์สมมติ (Magic If) โดยคอนสแตนติน สตานิสลาฟสกี (Constantin Stanislavski) ควบคู่ไปกับทฤษฎีการแสดงเกี่ยวกับการใช้จินตนาการ (Imagination) ของ สเตลลา แอ็ดเลอร์ (Stella Adler) ซึ่งเมื่อฝึกฝนตามกระบวนการที่ได้สังเคราะห์มาผู้วิจัยค้นพบความเป็นไปได้และสามารถเชื่อได้แบบที่ตัวละครเชื่อซึ่งนำไปสู่การแสดงที่จริงใจต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึก การบันทึกวิดีโอการฝึกซ้อมและการแสดง ซึ่งมีการประเมินผลหลังจากนำเสนอผลงานการแสดงแล้วโดยการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากผู้ชมทั้งหมด  50 ชุด การประเมินการแสดงจากอาจารย์ที่ปรึกษาในรอบก่อนการแสดงจริง และมีการวิเคราะห์จากการพูดคุยจากการเสวนากับผู้ทรงคุณวุฒิหลังจบการแสดง

          ผลการวิจัยที่พบคือ ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์วิธีการที่ได้จากการศึกษาหลักการการแสดงที่เน้นการใช้จินตนาการเป็นหลัก คือการฝึกฝนตามหลักการของสเตลลา แอดเลอร์ที่มีหลักการตั้งต้นมาจาก “มนต์สมมติ” ของสตานิสลาฟสกี (Stanislavski) กระบวนที่สังเคราะห์ได้คือการฝึกฝนตามลำดับดังนี้ Magic If ® Given circumstances ® Super objective ® การใช้แบบฝึกหัดเข้ามาช่วยพัฒนาระหว่างการฝึกซ้อม ซึ่งผลจากการฝึกฝนตามกระบวนการที่ได้มาทำให้ผู้วิจัยสามารถทำให้ผู้ชมเชื่อในสถานการณ์ของตัวละครได้ และเกิดความรู้สึกร่วมไปกับเหตุการณ์ที่ตัวละครกำลังประสบอยู่ ผู้ชมเชื่อสิ่งที่ผู้วิจัยกำลังสื่อสาร  และเห็นพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงของตัวละครเอ็มม่า ในส่วนของผลของการฝึกฝนการร้องเพลง คือ ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจในการ ร้องเพลงเพื่อที่จะสื่อสารเรื่องราวของตัวละครสู่ผู้ชมมากขึ้น และผู้วิจัยไม่เกิดความกังวลขณะที่กำลังแสดงอยู่เนื่องจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอก่อนการแสดงจริง

References

Adler, S. (2000). THE ART OF ACTING. Maryland: Applause Books.

Batson, S. (2007). Truth: Personas, Needs, and Flaws in the Art of Building Actors and Creating Characters. New York: Stone VS. Stone, Inc.

Dots Singing & Music School. (2021, Aug 3). Three Breathing Exercises for Singing | Kids and Beginners. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=98Gk-OsMblM

Deer, Joe., & Vera, Rocco, Dal. (2008). Acting in Musical Theatre A Comprehensive Course.

Hagen, Uta. (1973). Respect for Acting. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Harvard, P. (2013). Acting Through Song: Techniques and Exercises for Musical-Theatre Actors. London: Nick Hern Books Limited.

New York: Routledge.

Sawoski, P. (n.d.). The Stanislavski system Growth and Methodology. Retrieved from

https://bpb-us-w2.wpmucdn.com/sites.udel.edu/dist/b/8050/files/2018/06/

Stanislavski.pdf

กฤษณะ พันธุ์เพ็ง. (2560). นักแสดง กับการพัฒนาทักษะทางด้านจินตนาการ. สืบค้นจาก

https://scn.ncath.org/articles/imagination-skills-development-for-performers/

แก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ, และดวงใจ ทิวทอง. (2560). การแสดงขับร้องโดยแก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 4(2). 48-66.

ธนัชพร กิตติก้อง. (4 กุมภาพันธ์ 2564). ACTING กับความจริงของเรา. Thai Theatre Foundation. สืบค้นจาก https://www.thaitheatre.org/article-entries/acting-with-our-truth

นพมาส แววหงส์. (บ.ก.). (2558). ปริทัศน์ศิลปการละคร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ดํารุง. (2560). การปฏิบัติงานและคุณค่าของ “วิจัยการแสดง” สำหรับนักวิชาการด้านการละคร/การแสดงในมหาวิทยาลัย. วารสารดนตรีและการแสดง. 3(2). 8-24.

เพียงดาว จริยะพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะของนักแสดงในการแสดงเดี่ยวเรื่อง เดอะ ไซริงกา ทรี ตามหลักการแสดง ของม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-11