การสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากขี้ผึ้งและไขมะพร้าวรูปครีมสติ๊ก

ผู้แต่ง

  • มณีกัญญา นากามัทสึ -
  • อภิรัช ประชาสุภาพ
  • ชยานนท์ เชาวน์วุฒิกุล
  • ปรียากมล มีอยู่เต็ม

คำสำคัญ:

การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์, ครีมบำรุงผิวสมุนไพร, ครีมสติ๊ก, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสมุนไพรที่มีสารสกัดจากธรรมชาติมีความอ่อนโยนต่อผิวและมีความสะดวกต่อการพกพาไปใช้ในสถานที่ต่างๆกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากขี้ผึ้งและไขมะพร้าวในรูปครีมสติ๊ก และ เพื่อนำเสนอระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากขี้ผึ้ง และไขมะพร้าวในรูปครีมสติ๊ก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หลักสูตรแผน ก. สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานแล้วอายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน พำนัก ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามสถิติ ที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากขี้ผึ้งและไขมะพร้าวในรูปครีมสติ๊ก ลักษณะเนื้อครีมมีสีครีมอ่อน ความคงตัวของเนื้อครีมทางกายภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงความชุ่มชื้นและอ่อนโยนต่อผิวหนัง มีกลิ่นหอมของสมุนไพรสกัด บรรจุอยู่ในแท่งครีมสติ๊ก ขนาด 15 กรัม และ 2) ประชากรมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากขี้ผึ้งและไขมะพร้าวในรูปครีมสติ๊ก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านความสะดวกถูกสุขอนามัยโดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสเนื้อครีม พกพาง่ายต่อการนำไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ เนื้อครีมบำรุงคงความชุ่มชื้นยาวนานต่อผิวพรรณ และความพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์แท่งครีมสติ๊กของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมีความสวยงามทันสมัย ตามลำดับ

References

กฤตชน วงศ์รัตน์, โสภาพร กล่ำสกุล และกนกพร บุญธรรม.(2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมัน

มะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนบ้านแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎ บุรีรัมย์, 17(1), 63-73.

ณรงค์ โฉมเฉลา. (2548). บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม, เครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย.

วารสารองค์การเภสัชกรรม, 33(1), 26-29.

นันทวัลย์ มิตรประทาน. (2554). ปัจจัยที่มีผลพฤติกรรมการซื้อครีมบำรุงผิวกายเพื่อป้องกันแสงแดด

ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยมาศ นานอก. (2551). ผึ้งและการใช้ประโยชน์. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 8(2), 75-81.

ปภาวดี คล่องพิทยาพงษ, อิทธิชัย, จันทรรัตน์, และรัฐพล. (2563). การศึกษาความปลอดภัย และ

ประสิทธิภาพของตำรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันรำข้าวที่มีสารแกมม่าออไรซานอล

ปริมาณ 18,000 พีพีเอ็มในการเพิ่มความแข็งแรงของเกราะป้องกัน และความชุ่มชื้น

ผิวหนังสำหรับคนผิวแห้ง. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

มันตาภรณ์ อนะวัชพงษ์. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อและทัศนคติต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์

เครื่องสำอางประเภท ดูแลผิวของผู้บริโภคเพศชายสมัยใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะ

ศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สาริศา เทียนทอง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออร์แกนิคแบรนดไทยใน

เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมพงษ์ เฟื่องอารมณ์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก (Export Packaging).จามจุรีโปรดักท์.

อรวรรณ ดวงภักดี. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลิปบาล์มและโลชั่นบำรุงผิวจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์

และน้ำผึ้ง. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

Kotler, P. (1994). Reconceptualizing Marketing: An Interview with Philipkotler.

European Management Journal, 12, 353-361.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Krutmann J, et al., (2017). The skin aging exposome. J Dermatol Sci,85(3): 152-161.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. (2nd Ed). McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment

of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.

Schmidt et al., (1992). Testing the Null Hypothesis of Stationarity against the

Alternative of a Unit Root. Journal of Econometrics, 54(3), 159-178.

Tipphachartyothin, P. (2014). Quality control: The importance of consistency. Journal

of productivity world, 19(110), 91-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26