ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อขนมไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ อมรชัยนนท์ -
  • เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร

คำสำคัญ:

สวนประสมทางการตลาด 4P, การเลือกซื้อขนมไทย, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยข้อมูลทั่วไปที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อขนมไทย  ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4P ที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อขนมไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อขนมไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และ 4) ศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการลือกซื้อขนมไทย ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร                                                               รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่กรุงเทพมหานครที่เคยซื้อขนมไทยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มโดยใช้รูปแบบไม่เจาะจง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์ทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi Square)                                                                    ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างปัจจัยด้านระดับการศึกษา และอาชีพส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะการเลือกซื้อขนมไทย ระยะเวลาต่อครั้งที่ซื้อขนมไทย กิจกรรมที่เลือกซื้อขนมไทย และค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่เลือกซื้อขนมไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้โดยรวมปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด วัฒนธรรม และจิตวิทยา อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.48, 4.49, 4.00) นอกจากนี้ส่วนประสมทางการตลาดยังส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมไทยตามความถี่การเลือกซื้อขนมไทยในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะเดียวกันปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาวิจัยค้นพบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ค้าควรนำส่วนประสมการตลาดที่สร้างความต่างจากรูปแบบเดิมโดยนำวัฒนธรรมมาสร้างเป็นเรื่องราวของขนมหวาน เพื่อสร้างแรงดึงดูดและสร้างความประทับใจผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นกระแสที่ตอบรับที่ดีในปัจจุบันตามพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

จักรกฤษณ์ นาคประเสริฐ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านไอศกรีมพรีเมี่ยมในศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นว้าอิสระปริญญาปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : วี.อินเตอร์พริ้นท์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.

นภัสพร นิยะวานนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเบเกอรี่ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบค้นจาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/12025

บรรยงค์ โตจินดา. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : รวมสาส์น (1997).

พิบูล ทีปะปาล และ ธนวฒน ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์.

วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหาร ผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระ บํารุงรักษ์. (2541). ระบบการวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน. กรุงเทพมหาคร : โอเอสพรินติ้ง. เฮาส์.

วิรัช สงวนวงศ์. (2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ท้อป.

ภูริชากร พุฒินันท์ และชุติมาวดี ทองจีน. (2559). พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 8(2), 81-81.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2564). ตลาดขนมหวานจากน้ำตาล ปี 2564. สืบค้นจาก https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=366

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_65.pdf

สุธรรม รัตนโชติ. (2553). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม: กรุงเทพมหาคร. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?

Duangwises, N. (2020). ทบทวน แนวคิด ทฤษฎี การรื้อฟื้น วัฒนธรรมท้องถิ่น. Journal of Anthropology, Sirindhorn Anthropology Centre (JASAC), 3(1), 38-75.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14th Global ed.). Pearson Education.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-13