หลักเกณฑ์การสอบสวนและการลงโทษสำหรับความผิดของอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาเอกชน : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกลุ่มประเทศสันนิบาตอาหรับ

ผู้แต่ง

  • เนติ ปิ่นมณี -

คำสำคัญ:

การสอบสวน, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, บริการสาธารณะด้านการศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้วิเคราะห์หลักเกณฑ์การสอบสวนและการลงโทษสำหรับความผิดของอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยเปรียบเทียบระหว่าง หลักเกณฑ์การสอบสวนดังกล่าวของประเทศไทย คือ ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 กับหลักเกณฑ์การสอบสวนดังกล่าวตามกฎหมายของกลุ่มประเทศสันนิบาตอาหรับ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญ คือ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะ  ด้านการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และแนวคิดเกี่ยวกับระบบการควบคุมการใช้อำนาจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่าประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ลงวันที่ 25 กันยายน 2551 มีข้อบกพร่องในประเด็นสำคัญบางประการ ได้แก่ ประเด็นสำคัญก่อนการสอบสวนเพื่อพิจารณาลงโทษอาจารย์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ประเด็นสำคัญในขั้นตอนการสอบสวนเพื่อพิจารณาลงโทษอาจารย์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และประเด็นสำคัญภายหลังการลงโทษอาจารย์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ฉะนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  ควรจัดทำประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวและใช้เป็นหลักเกณฑ์การสอบสวนและการลงโทษสำหรับความผิดของอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ต่อไป

References

League of Arab. (2022). League of Arab Status. Retrieved from http://www.lasportal.org/ar/pages/default.aspx

RECHI-EINFACH. (2022). status negativus. Retrieved from https://www.recht-einfach.schule/definitions/ status-negativus

ทบวงมหาวิทยาลัย. (2535). สองทศวรรษทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพ: ทบวงมหาวิทยาลัย.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐาน สิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.

กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พัชฌา จิตรมหึมา. (2565). ความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง เปรียบเทียบแนวคำวินิจฉัยของสภาแห่งรัฐและหลักความเป็นกลางตามกฎหมายของสาธารรรัฐฝรั่งเศส. สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=345

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2562). ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สมยศ เชื้อไทย. (2556). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-31