แนวทางกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของวิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้าง: ข้อพิจารณาจากสัญญาจ้างก่อสร้างของ FIDIC RED BOOK ฉบับปี 2017

ผู้แต่ง

  • เนติ ปิ่นมณี -

คำสำคัญ:

ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง, สภาวิศวกร, ฝ่าฝืนจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้ศึกษาวิเคราะห์แนวทางกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของวิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้าง โดยใช้ข้อพิจารณาจากสัญญาจ้างก่อสร้างของ FIDIC Red Book 2017 (Vidhya Sumra, 2022) ประกอบกับแนวคิดที่สำคัญคือ หลักพื้นฐานของบริการสาธารณะ  การมอบหมายบริการสาธารณะด้านการควบคุมการก่อสร้างให้องค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรรมจัดทำแทนรัฐภายใต้หลักความได้สัดส่วน นิติกรรมทางปกครองซึ่งรัฐมอบให้แก่องค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรรม รวมถึงการควบคุมการใช้นิติกรรมทางปกครองขององค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรรมโดยวิธีการอุทธรณ์ภายในองค์กรวิชาชีพดังกล่าว และการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองโดยศาลปกครอง จากการศึกษาพบว่าปัญหาการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของวิศวกรโยธา ผู้ควบคุมงานก่อสร้างตามนัยข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559 เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ สามประการ ได้แก่ 1) ความไม่เหมาะสมของการแต่งตั้งวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาของผู้ว่าจ้างเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง 2) การแต่งตั้งวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาของผู้ว่าจ้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างซึ่งเกินความสามารถในการประกอบวิชาชีพ 3) แนวทางที่ไม่ชัดเจนในการดำเนินงานสำหรับผู้ควบคุมงานก่อสร้างซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาให้มีความถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ทั้งนี้สามารถกำหนดแนวทางกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของวิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้างดังกล่าว โดยสภาวิศวกรซึ่งมีฐานะ เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย และมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติ  และการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้มีความถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามนัยมาตรา 7 (7) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ควรดำเนินการประสานไปยังกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับวิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้างให้มีความสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางกฎหมายสำหรับป้องกันปัญหาการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมดังกล่าว ได้แก่ 1) การกำหนดแนวทางกฎหมายว่า กรณีการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้าง    ซึ่งต้องดำเนินการก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม ผู้ควบคุมงานจะต้องเป็นบุคลากรสังกัดฝ่ายผู้ดำเนินการก่อสร้าง หรือผู้รับจ้างช่วง ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม 2) กำหนดแนวทางกฎหมายว่าผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่งานก่อสร้างต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม ผู้ควบคุมงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะต้องเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่มีระดับของใบอนุญาตสอดคล้องกับลักษณะประเภท และขนาดของงานก่อสร้างนั้นด้วย 3) กำหนดแนวทางกฎหมายว่า ในกรณีที่งานก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงงาน (Variations) วิศวกรโยธา ผู้ควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่ดำเนินงานที่สำคัญ สามประการ คือ (1) หน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้อง ของแบบรูปรายการละเอียด (Drawing) และข้อกำหนดในสัญญาตามที่ผู้รับจ้างได้จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานก่อสร้าง (2) หน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงราคางานก่อสร้างที่อาจเป็นงานเพิ่มหรืองานลด โดยคำนวณร่วมกับดัชนีของการก่อสร้างที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น Factor F เป็นต้น (3) หน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตามสัญญา ซึ่งคำนวณตามระยะเวลาของงานก่อสร้างลอยตัว (Float Activity) และระยะเวลาของงานวิกฤติ (Critical Activity) ของงานก่อสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงงาน

References

Andres GÖller. (2021). Kreditfinanzierung & Kreditsicherung nach englischem Recht. Austria:

Linde International.

Vidya Sumra. (2022). What you need to know about a FIDIC Contract. Retrieved from

https://blog.ipleaders.in/need-know-fidic-contract/

กัมพล กิตติพงษ์พัฒนา, โชคชัย เนตรงามสว่าง, อุกฤษฏ์ ศรพรหม, และ นันทวุฒิ บุญอินทร์. (2017). สัญญา

ก่อสร้าง FIDIC RED BOOK 2017. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เฟิสท์ ออฟเซท.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 324/2563.

พนม เอี่ยมประยูร. (2542). เอกสารคำบรรยายวิชากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. (2564). รายงานการประชุมคณะกรรมการการตรวจรับพัสดุงานก่อสร้างอาคารบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ครั้งที่ 2/2564.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). การวางแผนโครงการด้วย PERT/CPM. สืบค้นจาก

http://staff.cs.psu.ac.th/natikarn/344-381/pret-cpm_1/pert.htm

สมยศ เชื้อไทย. (2556). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เอกบุญ วงศ์สวัสดิกุล. (2559). ภารกิจและการดำเนินการภารกิจของฝ่ายปกครองในแนวทางการศึกษาชุดวิชากฎหมายปกครองชั้นสูง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-13