แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, การศึกษาเอกชน, บุคลากรบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 137 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.23) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และประเภทบุคลากร ที่ต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาในการทำงานที่ต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารควรมีแนวทางในการกระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรอย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่อยู่เสมอ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวง ศึกษาธิการ. ราชกิจจานุเบกษา, 112 (ตอนที่ 100 ก), 15-16.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา, 125 (ตอนที่ 7 ก), 30.
กมลวรรณ ปานประดิษฐ์ และอดิศร ภู่สาระ. (2563). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 113–121.
กรรณิการ์ เกตทอง. (2559). สาเหตุและแนวโน้วการลาออก/โอนย้าย ของข้าราชการในหน่วยงานวิชาการ กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
กาบทิพย์ ศิริชมภู. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ธมกร ทยาประศาสน์ และวรภูริ มูลสิน. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 8(2), 146-153.
นพคุณ ชอบดี. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทวิจัยการตลาด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
บุญลดา คุณาเวชกิจ, จุฑามาศ อ้วนแก้ว และบุญญาพร แก้วยม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กรณีศึกษาพนักงานบริษัทโมเดิร์นเทรดในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 26-39.
บุรินทรวรวิทย์ พ่วนอุ๋ย, อนุชิต บูรณพันธ์ และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). แรงจูงใจการทำงานในยุคปรกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 227-244.
ปานทิพย์ อิ่มจิต. (2562). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรม กรณีศึกษา: สำนักอำนวยการประจำศาลอาญารัชดา. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(3), 12-22.
พรชัย ขันทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(52), 42–52.
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ปทุมธานี.
พรเพชร บุตรดี (2563). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ไพรัตน์ เพชรยวน. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน กรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
วราภรณ์ คำเพชรดี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่อุบลราชธานี (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
วรินธร แก้วคล้าย. (2549). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.
วิทยา ธารประเสริฐ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร, สกลนคร.
ศรัณย์ ประสาร (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 22(2), 39-47.
สภาผู้แทนราษฎร. (2564). กระทู้ถามที่ 352 ร. ราชกิจจานุเบกษา, 138(ตอนพิเศษ 317 ง), 36-37.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). รายงานประจำปี 2565. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, จาก https://online.fliphtml5.com/letya/oeos/#p=1
สุมิตร สุวรรณ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนุชิต บูรณพันธ์ และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). แรงจูงใจการทำงานในยุคปรกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(5), 227–244.
อ้อมอารีย์ ยี่วาศรี, สมเกียรติ เกียรติเจริญ, ยุภาพร ยุภาศ และวัชรินทร์ สุทธิศัย. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอในเขตกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 57-66.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and Sons. อ้างใน ทัศนีย์ ศรีสุวรรณ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
Mayo, E. (1954). The human problems of an industrial civilization. Boston: Harvard University. อ้างใน มงคล สันติกุล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.