ความตั้งใจในการใช้ธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปภาอร พุ่มทรัพย์ -
  • สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์

คำสำคัญ:

ธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ, เอเจนซี่, ระดับอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความตั้งใจในการใช้ธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ (2) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อต่างประเทศ และธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ (เอเจนซี่) และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดใหม่ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้ธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ (เอเจนซี่) ในระดับอุดมศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ คือ กลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งในระบบโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชนและกลุ่มนักเรียนนอกระบบ จำนวน 200 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ (จำนวน) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) และผลการวิเคราะห์ของสมการถดถอยเชิงพหุ จากผลวิจัยพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านรายได้ครอบครัวต่อเดือน และวัตถุประสงค์หลักในการไปศึกษาต่อต่างประเทศที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับความตั้งใจในการใช้บริการธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ (เอเจนซี่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 การรับรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อต่างประเทศและธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ(เอเจนซี่) ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ (เอเจนซี่) ในระดับอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4E พบว่า การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ง่าย และสะดวกสบาย และการทำให้ผู้บริโภคกลายมาเป็นลูกค้าที่ภักดีกับตราสินค้าและรู้สึกอยากบอกต่อ มีผลต่อความตั้งใจในการใช้ธุรกิจบริการเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ (เอเจนซี่) ในระดับอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กระทรวงการศึกษา (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) กระทรวงศึกษาธิการ. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565, จาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/

กฤติยา ศุภภัคว์รุจา และ ธีระวัฒน์ จันทึก (2559) องค์ประกอบของการคัดเลือกใช้บริษัทตัวแทนเพื่อศึกษา ต่อประเทศสิงคโปร์, Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2559, หน้า 1173-1189 ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2566

ชิดชนก ทองไทย. (2556). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ค้นหาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Man/Chidchanok_T.pdf

ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฏ์. (2563). ปัญหาจากระบบการศึกษาไทย : สู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุด “ให้ชีวิตได้ใช้”. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565, จาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/humanjubru/article/download/245288/ 167216/889705

ทวีพร พนานิรามัย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ A ของผู้บริโภคในเขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ค้นหาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1650/3/thaweephorn_ phan.pdf

ทิวาพร พงษ์รอด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านร้านค้าบนอินสตาแกรม. มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นหาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565, จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/ bitstream/123456789/ 3424/1/TP%20MM.084%202562.pdf

ธินิดา เฉยแสง และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล (2564) พฤติกรรมการซื้อและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องส าอางแมค (M·A·C) ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร วารสารบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ ฉบับที่ 7 ปี 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564 หน้า 179-193 ค้นหาเมื่อ ค้นหาเมื่อ 10 สิงหาคม 2565

ปัณฑิตา โรจนกนันท์ (2559). การรู้จัก ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคไทยต่อตราสินค้าที่นาเสนอโดยผู้นำเสนอตราสินค้าและ ไม่ใช่ผู้นำเสนอตราสินค้าผ่านละครโทรทัศน์เกาหลี.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นหาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565, จากhttps://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/524844/dbed528630bb99399a98fbf5863a54ed?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2016.5

พิชชาภร จวงวาณิชย์ และเสาวนีย์ เลวัลย์ (2560). อิทธิพลของช่วงอายุต่อความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กรในวิชาชีพบัญชี. HROD Journal ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560, หน้า 1-22 ค้นหาเมื่อ 21 สิงหาคม 2565.

พิชญาพรรณ วงศ์สุวรรณ์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจบริโภคอาหารเจและมังสวิรัติ ที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ค้นหาเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/243197/169357

ภารดี เทพคายน (ม.ป.ป). การศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ค้นหาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research/ paradeere164.pdf

ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (2560) พฤติกรรมการซื้อและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแมค (M·A·C) ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 หน้า 179-193 ค้นหาเมื่อ 10 สิงหาคม 2565

ศุภณัฐฐ์ สุรสกุลวัฒน์ .(2564) ส่วนประสมทางการตลาด ค่านิยม และทัศนคติ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเจใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ค้นหาเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4847/3/suppanat_sura.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ .(2564). จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา และชั้นปีการศึกษา 2560 - 2564. ค้นหาเมื่อ 23 มิถุนายน 2565, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

สุวนันท์ สุขเจริญ .(2564). การเปรียบเทียบข้อมูลประชากรในประเทศไทยจากข้อมูลการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมนุษยธรรม และข้อมูลของกรมการปกครอง. วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร. ค้นหาเมื่อ 21 สิงหาคม 2565, จาก https://www.agi.nu.ac.th/nred/Document/isPDF/2563/ geo_2563_027_FullPaper.pdf

แสงจันทร์ แสนสุภา. (2557). ประชากร. เดลินิวส์. ค้นหาเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://d.daily news.co.th/article/273757/

Gheorghe E., Ioana S. I., Adrian M. (2015). From 4P's to 4 E's - How to Avoid the Risk of Unbalancing the Marketing Mix in Today Hotel Businesses Retrieved 20 August 2565, fromhttps://www.researchgate.net/publication/294258820_From_4P%27s_to_4_E%27s__How_to_Avoid_the_Risk_of_Unbalancing_the_Marketing_Mix_in_Today_Hotel_Businesses

Hartiwi Prabowo, Ridho Bramulya and Yuniarty (2020) Student purchase intention in higher education sector: The role of social network marketing and student engagement Retrieved 28 August 2565 from http://www.m.growingscience.com/msl/Vol10/msl_ 2019_225.pdf

Pattarat (นามแฝง). (2562, 4 กุมภาพันธ์). คนไทยเรียนต่อ UK เพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ “ครูไทย”

% ยังรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ : Positioningmag. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565,จาก https://positioningmag.com/1263197

Kika T. & Tuff T. (2012). Introduction to Population Demographics Retrieved on 18 May 2566, fromhttps://www.researchgate.net/publication/290851981_Introduction_to_population_demographics

Time Higher Education. (2022). World University Rankings 2022 Retrieved 20 July 2565, from https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2022/world-ranking

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-13