อิทัปปัจจยตาเชิงบูรณาการ: การเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลัน

ผู้แต่ง

  • เยาวลักษณ์ กุลพานิช -
  • พระศรีวินยาภรณ์, ดร

คำสำคัญ:

อิทัปปัจจยตา, ดุลยภาพชีวิต, ยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลัน 2) เพื่อศึกษาหลักอิทัปปัจจยตาในฐานะเป็นการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลัน 3) เพื่อบูรณาการการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันด้วยหลักอิทัปปัจจยตา 4) เพื่อนำเสนอแนวทางสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันด้วยหลักอิทัปปัจจยตา” งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันสามารถสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันได้ แต่จะยังไม่สมบูรณ์และยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หากไม่ได้นำหลัก  อิทัปปัจจยตามาใช้ร่วมในการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันด้วย เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ คือ หลักอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นแนวความคิดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หลักแห่งความสมดุลที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามธรรมชาติ และวิธีปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตซึ่งเป็นวงจรอิทัปปัจจยตาเชิงบวก คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง และวิธีปรับตัวให้อยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงในทุกยุคสมัยได้อย่างมีดุลยภาพ โดยสามารถบูรณาการสร้างรูปแบบการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านความตื่นรู้ทางปัญญา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น องค์ความรู้ในการเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตในยุคการปรับเปลี่ยนฉับพลันด้วยหลักอิทัปปัจจยตานี้เรียกว่า Equilibration Sphere Model อันประกอบด้วยหลักพลังใจเข้มแข็ง พลังกายแข็งแรง พลังร่วมสามัคคี และพลังปัญญาสร้างสรรค์ (VSHC)

References

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์, โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญม. (2562). การสร้างดุลยภาพชีวิตตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6 (1), 45-46.

คณะทำงาน ThaiHealth Watch 2022. (2564). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื้อม อินทปัญโญ). (2557). อิทัปปัจจยตา. สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2556). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. เล่มที่ 26. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย.

สมภพ มานะรังสรรค์. (2562). คนไทยเตรียมรับมือ 6 Super Disruption. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564,

จาก https://www.wearecp.com/th-1904-2562/

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต). (2564). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์.

สานุ มหัทธนาดุลย์ และ สริตา มหัทธนาตุล. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมเพื่อวิถีชีวิตที่สมดุลตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1161-1172.

เสฐียร ทั่งทองมะดัน และสานิตย์ ศรีนาค. (2563). การตีความคำสอนเรื่องอิทัปปัจจยตาในทัศนะของ

พุทธทาสภิกขุ. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 4 (1), 39-47.

Miller, J. G). Living Systems. (1978). Corolado: The McGraw-Hill Companies, Inc.

Roy and Andrews. (1999). The Roy’s Adaptation Model, (Stamford: Appleton & Lange.

United Nations. Sustainable development goals. Retrieved June 21, 2021, from https://sus tainabledevelopment.un.org/goals

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. Retrieved June 21, 2021,

from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-03