การบริหารจัดการขยะ (Zero Waste): กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบ จังหวัดกำแพงเพชร
Russadakorn Vinijkul Preeyanuch Prompasit Phitsanu Boonniyom and Natthanan Thongsap
คำสำคัญ:
กระบวนการ, บริหารจัดการขยะมูล, ชุมชนต้นแบบบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการบริหารจัดการขยะของชุมชนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร (2) องค์ประกอบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะของชุมชนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในกรณีศึกษาการจัดการขยะชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรที่ได้รับรางวัลระดับประเทศจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านคุยมะม่วง ชุมชนบ้านบ่อถ้ำ และชุมชนบ้านดงเย็น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 3 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จำนวน 6 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน รวมเป็นจำนวนทั้งหมด 15 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านกระบวนการบริหารจัดการขยะของชุมชน มีการวางแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในแต่ละชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น วัด ทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานร่วมกัน การนำหลักการ 3Rs มาใช้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ (2) ด้านองค์ประกอบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะของชุมชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชนแบบบูรณาการที่ได้พัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชนต้นแบบอย่างสม่ำเสมอ และการมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรที่สามารถขยายเครือข่ายความร่วมมือสู่ชุมชนอื่นต่อไปได้
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานประจำปี 2565 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร.
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี 2565. กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). แนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนสำหรับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2565. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
กลุ่มสื่อสิ่งแวดล้อมและกิจการพิเศษ, กองส่งเสริมและเผยแพร่, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2566). คู่มือสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน” https://www.mnre.go.th/th/calendar/detail/ สืบค้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566.
ธนงศักดิ์ ฟักเนียม. (2565). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการขยะอันตราย ของจังหวัดสระบุรีกรณีศึกษาพื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอย. (รัฐประศาสนศาสตร์มหาบันฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุริยะ หาญพิชัยและจันทร์ฉาย จันทร์ลา. (2561) การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตี
สวรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐประพัตร์, ปภาอร กลิ่นศรีสุข. (2561). ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนบ้านกลาง-ไผ่ขาด จังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (คณะวิทยาการจัดการ), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง, กรมควบคุมมลพิษ.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). คู่มือหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร”.
วัลลภ แจ้งเหตุผล, (2564). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 15 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ธันวาคม 2564)
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. (2563). อบจ.กำแพงเพชรร่วมควบคุมมลพิษ จัดการขยะมีพิษขยะ อันตราย. องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนพลวง, การจัดตั้งชุมชนปลอดขยะจากวัสดุรีไซเคิลบ้านคุยมะม่วง. (2563). https://www.nonpluang.go.th/news_detail.php?doIP=1&checkIP=$chkIP&id=17275&ch
eck Add=$ สืบค้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566
Cohen, John M. and Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies: Cornell University
Erwin, William. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta. Georgia State University.