ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธานี เสนสร Stamford international university
  • โอภาส เพี้ยนสูงเนิน

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, อาหารเพื่อสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษา1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร2) ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร3) ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและ 4) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน400 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า1) ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ด้านประโยชน์ของผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ2) ปัจจัยทางสังคม ด้านครอบครัว ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ3) ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 4) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุคือ ผู้ประกอบการควรพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพให้มีคุณค่าทางโภชนการหลากหลายให้ผู้สูงอายุได้เลือกรับประทานและปรุงแต่งรสชาติให้ถูกปากง่ายต่อการรับประทาน และควรแนบรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวได้อ่านทำความเข้าใจและเป็นการเพิ่มความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ และควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพ

ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อและเพิ่มยอดขายได้

 

References

กชกร คำแฝง. (2562). แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไข่เค็มไชยา: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนไข่เค็ม อสม. ไชยา ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิยาลัยศิลปากร.

กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566. จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี คมกริช ศรีไพรงาม และลลิตภัทร สร้างถิ่น. (2561). ปัจจัยด้านคุณภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 (มกราคม-เมษายน 2561), 1-8.

จรรยา วังนิยม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 59-67.

ชนัดดา ศิริพล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวุฒิ เลิศวัฒนเกษม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วสุธิดา นุริตมนต์และนันทพร ห้วยแก้ว. (2564). อิทธิพลของคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุ: การทดสอบเชิงประจักษ์ความเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้คุณค่า. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2021): มกราคม - เมษายน 2564, 58-71.

วิชาญ เกิดวิชัย. (2565). อาหารสำหรับผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. (2556). หลักการตลาด. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พีรยุทธ์ พัฒน์ธนญานนท์. (2562). อิทธิพลของบุคคลรอบข้างที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561, 10-18.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2561). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาหลักการตลาด 01134111.กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภณัช ทองเรือน. (2562).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากสมุนไพรทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค กรณีศึกษา บริษัท นินจา พาสเนอร์ จำกัด. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สกานต์ บุนนาค. (2564). การวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรคและความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2566). อนาคตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่ Modern Principle of Marketing. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บจก.ด่านสุทธาการพิมพ์.

Philip Kotler (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28