การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • กัณภร ธนะวิกสิท -
  • อรนันท์ กลันทปุระ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาเมืองน่าอยู่, อย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน จำนวน 400 คน ที่อาศัยในเขตพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ  t-test  ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับความแตกต่างค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการทดสอบด้วยวิธี Fisher's least significant difference (LSD) ในการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการรับผลประโยชน์ มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการ ด้านการตัดสินใจ และน้อยที่สุด คือ ด้านการติดตามประเมินผล  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ที่ต่างกัน มีส่วนร่วมในพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

โกวิทย์ พวงงาม. 2551. การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. บริษัท ธรรมสาร จำกัด: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชณกร ชสิธภณญ์. 2562.“เมืองสีเขียวโอกาสในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน”. วารสารเศรษฐกิจและสังคม 56 (1): 43-47.

ธนกร ธรรมรักษิต. 2554. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระ สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). 2561. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภาวดี กรมทอง. 2557. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วน

ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบัน

บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2562. รายงานการศึกษาผลกระทบจากการ

เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาด

ประมาณประชากรของประเทศไทย (Online). https:www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9814.,

มีนาคม 2566

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565. คู่มือแนวทางการวางแผนพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน. (Online).

https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=12010, 20 มีนาคม 2566

สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม. 2563. คู่มือการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน.

อรทัย ก๊กผล. 2552. คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์: สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28