กลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ Bangkokthonburi University
  • ชูชิต ชายทวีป
  • ธนพันธุ์ พูลชอบ
  • ชัยรัตน์ จันทนดิษฐ
  • ณัฐพล พรมวิชา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การเจริญเติบโต, ความอยู่รอด, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับปัจจัยและตัวชีวัดความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ความน่าจะเป็น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย มีอายุ 31 – 40 ปีมีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นธุรกิจน้ำดื่ม อาหาร และเครื่องปรุง เป็นกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญ มีระยะเวลาประกอบธุรกิจ 5 – 10 ปี มีทุนจดทะเบียน 5,000,001 – 10,000,000 บาท มีจำนวนพนักงาน 21 – 40 คน 2) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ ปัจจัยแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ และตัวชีวัดความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ (SMEs) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ ด้านความมั่นใจ ด้านความสำเร็จ ด้านความใฝ่ใจในการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการยอมรับความเสี่ยง ด้านความคิดริเริ่ม และปัจจัยแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

คณิศร อุ่นแสงจันทร์. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดดำเนิน

ธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7.

เชาวลิต ประสิทธิ์. (2561). ปัจจัยภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด

ย่อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ธัญบุรี.

ธนพล ก่อฐานะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงกับผลการดําเนินงานแบบ

สมดุลของวิสาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยอุตสาหกรรม.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2563). โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19): ผลกระทบต่อวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการ. วารสารสมาคมนักวิจัย.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2557.รายงานสถานการณ์วิสาหกิจ ขนาดกลางเเละ

ขนาดย่อม ปี 2557. กรุงเทพ: สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดยอม.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2563. รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางเเละ

ขนาดย่อม ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Frese, Michael. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa : A

Psychological Approach. United States of America : Greenwood Publishing Group.

Lilischkis, S., (2013). Policies for High Growth Innovative Enterprises. Discussion paper for the

ERAC mutual learning seminar on research and innovation policies SESSION III - Brussels.

OECD. (2009). PISA 2009 Assessment Framework: Key competencies in reading, mathematics

and science. Paris:OECD.

Research Evaluation and Analysis Branch. (2013). High-growth Business in New Zealand.

Discussion paper was prepared by Ministry of Business Innovation and Employment

staff and has been peer reviewed both internally and by staff at the New Zealand

Productivity Commission.

Team FME. (2013). PESTLE Analysis. PESTLE Analysis Strategy Skills.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28