ค่าสินไหมทดแทนในทางกฎหมายสำหรับการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
คำสำคัญ:
ค่าสินไหมทดแทน, การฟื้นฟู, ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดมูลค่าเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ปัญหาวิธีการในการประเมินค่าสินไหมทดแทนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่เป็นค่าใช้จ่ายของรัฐอย่างอื่นเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และปัญหาวัตถุประสงค์ของกองทุนสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอุดหนุนเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่เสียหายโดยละเมิด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัย พบว่า มีปัญหาการบังคับใช้หลายประการ จึงควรเพิ่มเติมการกำหนดมูลค่าทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเพื่อการฟื้นฟูรวมถึงหลักเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมหรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือ และการกำหนดให้ต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายได้ทันทีปราศจากเงื่อนไขโดยไม่ต้องมีการฟื้นฟูก่อน ทั้งให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าความเสียหายและค่าสินไหมทดแทนเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรที่เสียหายโดยละเมิด รวมถึงการกำหนดค่าใช้จ่ายในการประเมิน ค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องค่าเสียหายให้เป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นของรัฐ ตลอดจนการกำหนดให้กองทุนสิ่งแวดล้อมใช้เงินอุดหนุนสำหรับการแก้ไขรักษาสภาพภูมิอากาศหรือลดมลภาวะฝุ่นละอองอันเกิดจากทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเสียหายโดยละเมิด นอกจากนี้ ควรปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการ เก็บรักษา และใช้เงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการฟื้นฟูนี้เป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดินและให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีแพ่ง
References
คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขแดงที่ อ.63/2562.
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่องการกำหนดมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติในอุทยาน
แห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ พ.ศ. 2564. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก
https://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=5f260f48-efcd-4a45-b8d2-
c110f41d82f.pdf
ประพจน์ คล้ายสุบรรณ. (2550). แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคดีสิ่งแวดล้อม.
วารสารวิชาการศาลปกครอง, 7 (2), 23.
ปัญญา สุทธิบดี. (2542). รายงานการวิจัย เรื่อง การเรียกร้องค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมศึกษาเฉพาะกรณี
เอกชนเป็นผู้เสียหาย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.
ปาริชาติ มั่นสกุล. (2560). ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. ดุลพาห, 64
(2), 127-130.
พิเชษฐ์ เมาลานนท์. (2528). หน่วยที่ 2 บทบาทของกฎหมายในการควบคุมและจัดระเบียบสิ่งแวดล้อม ใน
เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 1-7. มหาวิทยาลัยสุโขทัย: นนทบุรี.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักกการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: ไทยอนุเคราะห์.
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อมว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอจัดสรรและขอกู้ยืมเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2552. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/128239/SOP-
DIP_P_1267387_0001.pdf?sequence=1
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2567, จาก
https://www.ocs.go.th/council-of- state/#/public/doc/K2RWdWU3VW11STZ0S3ZybDVEQkdxdz09
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก
https://www.ocs.go.th/council-of- state/#/public/doc/YkswVjJ4dE0rR0pVS2hWR2N3V2IrQT09
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562. ค้นเมื่อ 15
กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.ocs.go.th/council-of-state/#/public/doc/ejBpR3RxcTZnVmZWb2hORkhVSEdRZz09
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535.
ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567, จาก https://www.ocs.go.th/council-of- state/#/public/doc/SXU5bUYyN0w1Z29BeTZ4UVc4bXZXdz09
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2567, จาก
https://www.ocs.go.th/council-of- state/#/public/doc/Q0hUY01wL3dVTHFnL2F5bXQvV0Jidz09
สิทธิ์ บุญอินทร์. (2555). ปรัชญาสิ่งแวดล้อม. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37 (3), 182-188.
อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2562). กฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2554). กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชย
เยียวยา และการระงับข้อพิพาท (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Christopher D. Stone. (1983). Should Tress Have Standing ?-Toward Legal Rights for Natural
Objects, 45 s. Cal. L. Rev. 450.
David Hunter and Outhers. (1994). Concepts and Principles of International Environmental
Law : An Introduction, UNEP; Geneva.DIRECTIVE 2004/35/CE OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL of 21 April 2004 on environmental liability with regard to the prevention and remedying of environmental damage. Retrieved February 20, 2024, From https://eurlex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri= CELEX%3A32004L0035.EUROPEAN COMMISSION DIRECTORATE-GENERAL ENVIRONMENT. (2001). STUDY ON THE VALUATION AND RESTORATION OF DAMAGE TO NATURAL RESOURCES FOR THE PURPOSE OF ENVIORONMENTAL LIABILITY B4-3040/2000/265781/MAR/B3 Final Report By Macalister Elliott and Partners Ltd.
Law for the Promotion of Nature Restoration (Law No. 148, December 11, 2002). Retrieved
February 5, 2024, from http://faolex.fao.org/docs/pdf/jap50709.pdf.
National Park Service U.S Department of interior. (2003). "Damage assessment and
restoration handbook". Retrieved March 9, 2024, From http://www.fws.gov/contaminants/FWS OSCP
/fwscontingencyappendices/P-NationalParkServiceManual/DO14 Handbook.pdf.
The Park System Resource Protection Act. Retrieved February 1, 2024,
from https://www.govinfo.gov/content/pkg/USCODE-2014-title54/html/USCODE-2014-
title54-subtitleI-divsnA-chap1007.htm
Tom Regan. (1983). The Case for Animal Rights. United States: University of California press.
United States Department of the Interior NATIONAL PARK SERVICE 1894 C Street, N.W.
Washington, D.C. 20240 DIRECTOR’S ORDER 14 RESOURCE DAMAGE ASSESSMENT AND
RESTORATION Approved: A. Durand Jones Acting Director Effective Date: September
, 2004 Sunset Date: September 30, 2008. Retrieved February 18, 2024, From
https://www.nps.gov/subjects/policy/upload/DO_14_9-28-2004.pdf.