ความต้องการและความพึงพอใจต่อสวัสดิการของบุคลากร กรมชลประทาน (สามเสน)
คำสำคัญ:
สวัสดิการ, ความต้องการ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) ที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) ที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบัน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) จำนวน 285 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน) มีความพึงพอใจต่อสวัสดิการในปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการสวัสดิการภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรที่มี เพศ ช่วงอายุ และอายุงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบันแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรที่มีการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อสวัสดิการในปัจจุบันไม่แตกต่างกัน และบุคลากรที่มี เพศ ช่วงอายุ ประเภทตำแหน่ง อายุการทำงาน และลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการของบุคลากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรที่มีการศึกษาแตกต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการของบุคลากรไม่แตกต่างกัน
References
กฤษฎา เชียรวัฒนสุข. (2560). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
จินดานนท์ ศิริรัตน์. (2555). ความต้องการสวัสดิการของบุคลากร สังกัดคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหิดล.สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนิดา รัตนชล. (2562). ความต้องการสวัสดิการตามเจนเนอเรชั่นของบุคลากรสายสนับสนุน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณยดา พงษ์วสิษฐ์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในสวัสดิการแฟลตสีกันของข้าราชการกองทัพอากาศ.
การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ โครงการบัณฑิตศึกษาสาขา
บริหารธุรกิจ (สปท.), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนิยา ปุญญาสวัสดิ์. (2549). การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการสำหรับข้าราชการ ในสำนักงาน
ปลัดกระทรวงคมนาคม. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2554). การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ: กลยุทธ์การบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารนักบริหาร Executive Journal 31.1 (มกราคม - มีนาคม 2554), หน้า 153 – 159.
ศูนย์ประสานการจัดสวัสดิการข้าราชการ สำนักงาน กพ. (2544). คู่มือการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ.
สุนิดา ชลวานิช. (2558). การจัดสวัสดิการของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการอำนวยการ
ตำรวจภูธรภาค 2. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง,มหาวิทยาลัยบูรพา.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York, NY: Harper & Row Publishers.
Morse, N.C. (1953). Satisfaction in White Collar job. University of Michigan Press, Ann Arbor.