ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ความผูกพันองค์กร, ปัจจัยด้านลักษณะงาน, ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงานบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันองค์กร เปรียบเทียบระดับความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับความผูกพันองค์กรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับความผูกพันองค์กรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีระดับความผูกพันองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และปัจจัยด้านลักษณะงาน มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 51.3 (R2 = 0.513) ซึ่งมีทั้งหมด 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านลักษณะการทำงานเป็นทีม และด้านความท้าทายในการทำงาน ส่วนด้านความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้ร้อยละ 63.6 (R2 = 0.636) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีทั้งหมด 1 ปัจจัย ได้แก่ ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสถิติศาสตร์วิจัย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การบริหารทรัพยากรบุคคล = Human resource management. กรุงเทพฯ: โฟกัส
มีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญพิชชา สามารถ. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
ณิชาพร ฤทธิบูรณ์. (2562). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), 151-166.
เบญจวรรณ ฐิติกาล. (2562).ความผูกพันของพนักงานในองค์การ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในองค์การ
กรณีศึกษา โรงงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แหลมฉบัง ชลบุรี. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ
ประภัทสรณ์ ชำนาญเวช. (2564). ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี. (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่). วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(1), 18-34
ปรารถนา หลีกภัย. (2563). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดตรัง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 132-146.
พิพัฒน์ มีเถื่อน. (2562). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ฮันนี่ เวลล์ อิเล็คทรอนิค แมธิเรียลส์ (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยเกริก
มีเดช นาคะภากร. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานส่วนตำบลในเขตอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. หน้า 1304-1314.
อุทัย ศิริภักดิ์. (2559). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
อรวรรณ เครือแป้น ปิยธิดา ตรีเดช วงเดือน ปั้นดี. (2556). ความผูกพันองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, ฉบับที่ 29(2). 10-19
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.