2. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ กรณีศึกษา : สำนักงานอัยการสูงสุด

Main Article Content

แพรววิไล จันทร์บุญ
กล้าหาญ ณ น่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจตามทฤษฎีความต้องการอีอาร์จี (ERG) ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารถนนรัชดาภิเษก จำนวน 188 คน เนื่องจากมีสำนักงานที่รับผิดชอบงานด้านคดีและด้านธุรการหลายสำนักงาน ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจหลักของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มุ่งเน้นอำนวยความยุติธรรมทางด้านกฎหมายให้แก่หน่วยงานภาครัฐและประชาชน เครื่องมือที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามชนิดเลือกตอบที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความน่าเชื่อถือ โดยค่าคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสัดส่วนข้าราชการธุรการแต่ละสำนักงาน สถิติที่นำมาใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) แบบ Enter
ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ได้แก่ ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านจิตอารมณ์ และด้านการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แรงจูงใจตามทฤษฎีความต้องการอีอาร์จี ได้แก่ ด้านความต้องการเพื่อการดำรงอยู่และด้านความต้องการด้านความสัมพันธ์ทางสังคมมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กล้าหาญ ณ น่าน. (2563). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ปัญญาพร ฐิติพงศ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ๊กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 1275-1292.

นันทนา จงดี. (2560). แรงจูงใจตามทฤษฎี ERG และความผูกพันองค์การของพนักงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา บริษัทผลิตรถเด็กเล่นแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศศินันท์ ทิพย์โอสถ. (2556). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของพนักงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในภาคธุรกิจ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมพงษ์ เพชรี และกล้าหาญ ณ น่าน. (2562). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 82-99.

อมรรัตน์ แสงสาย และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2559). ปัจจัยด้านองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย : กรณีศึกษา บริษัท เอเชียน สแตนเลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(28), 117–124.

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S. and Sowa, D. (1986). Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.

Ikon, M.A., & Ogochukwu, N. C. (2019). Perceived Organizational Support and Employee Performance in Selected Commercial Banks in South East Nigeria. International Journal of Business and Management Review, 7(5), 85 – 108.

Na-Nan, K., Chaiprasit, K. and Pukkeeree, P. (2018), Factor analysis-validated comprehensive employee job performance scale, International Journal of Quality & Reliability Management, 35(10), 2436 – 2449.