การขัดเกลาทางสังคมในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย “วิวิธภาษา” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขัดเกลาทางสังคมในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วิวิธภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดการขัดเกลาทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า การขัดเกลาทางสังคมที่ปรากฏมี 4 ลักษณะ คือ 1) การปลูกฝังให้มีระเบียบวินัยขั้นพื้นฐาน 2) การปลูกฝังให้สร้างความมุ่งหวังในชีวิต 3) การปลูกฝังให้รู้จักบทบาททางสังคมและทัศนคติ และ 4) การปลูกฝังทักษะในด้านต่าง ๆ จนเกิดความชำนาญ บทอ่านในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วิวิธภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นสื่อการสอนวิชาภาษาไทยและยังมีบทบาทในฐานะเป็นเครื่องมือช่วยในการขัดเกลาผู้เรียนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยครูผู้สอนสามารถนำตัวละครหรือเหตุการณ์ในบทอ่านมาเป็นแบบอย่างในการขัดเกลาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จินตกานด์ สุธรรมดี ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และเสกสรรค์ สนวา. (2561). รูปแบบการขัดเกลาทาง สังคมเพื่อพัฒนาจิตพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 67-68. http://stdb.most.go.th/research_detail.aspx?ResearchId=107109.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, เสาวคนธ์ สุดสวาสดิ์, เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล, ประพีร์ วิริยะสมบูรณ์, สุดา ภิรมย์แก้ว และสุรพันธ์ เพชราภา. (2552). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 14). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุษราภรณ์ ติเยาว์ ปาริชาติ วลัยเสถียร และวิวัฒน์ หามนตรี. (2562). ขบวนการจิตอาสา : การขัดเกลาทางสังคมกับการพัฒนาตนของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(ฉบับเพิ่มเติม), 567.http://mcupress.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=4108
ปราโมทย์ สกุลรักความสุข. (2562). บทอ่านในหนังสือเรียนภาษาไทยกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษย์ศาสตร์, 38(1), 43-44.https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/195221
พระมหาสนอง ปัจโจปการี. (2553). มนุษย์กับสังคม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ราชบัณฑิตสถาน.
วรัญญู วิจารณ์. (2561). การวิเคราะห์เนื้อหาและบทบาทการขัดเกลาทางสังคมของภาพยนตร์ โทรทัศน์ชุด “ขบวนการยอดมนุษย์ 5 สี” [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/305817.
ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2555). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ก). (2562). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ข). (2562). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 11). สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค). (2562). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 10). สกสค. ลาดพร้าว.
สุทัศน์ บุญโฉม. (2557). การขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนของวัยรุ่นตอนต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 91.https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/71390
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา สุภาพ. (2546). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 23). ไทยวัฒนาพานิช.
สุพัตรา สุภาพ. (2546). ปัญหาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 19). ไทยวัฒนาพานิช.