อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานในการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 35 คน โดยศึกษาเต็มจำนวนประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทดสอบคุณภาพและความเชื่อมั่นของเครื่องมือ การหาความเที่ยงตรง เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.91 จากนั้นนำไปทดสอบหาความเชื่อมั่น ในภาพรวมได้ค่าอัลฟ่าเท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านลักษณะการบริหาร ด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน ด้านความภูมิใจในองค์การที่มีคุณค่าทางสังคม ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคง และด้านรายได้และผลตอบแทนที่เพียงพอยุติธรรม ตามลำดับ 2) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับสูง เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความปรารถนาที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพในองค์การ และด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามเพื่อองค์การ ตามลำดับ และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐานคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลสามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ได้ร้อยละ 80.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ยอมรับสมมติฐาน โดยคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การได้แก่ ด้านความภูมิใจในองค์การที่มีคุณค่าทางสังคม, ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ, ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ, ด้านลักษณะการบริหาร, ด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว = 1.053 + 0.673 (X5) + 0.613 (X2) + 0.368 (X6) + 0.300 (X3) + 0.235 (X8) + 0.221 (X7) ส่วนด้านรายได้และผลตอบแทนที่เพียงพอยุติธรรม และด้านความก้าวหน้าและมั่นคง ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. (2563, 22 กันยายน). จำนวนบุคลากร ข้อมูล ณ พ.ศ. 2563. http://sciso.sakaeo.buu.ac.th/scisobuusk/?page_id=273&lang=th
จินตนา นาคพิน.(2552). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฑัมม์พร นิพนธ์พิทยา. (2561). ความสำคัญของการวิจัยทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิจัยวิชาการ, 1(2), 121-134.
ประสิทธิ์ สุขแก้ว. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจสำนักงานจเรตำรวจ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรวรรณ ตอวิวัฒน์. (2554). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผู้พันต่อองค์การ กรณีศึกษา ข้าราชการกรมศุลกากร ที่สังกัดส่วนกลาง (คลองเตย) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
ศิริวรรณ จันรจนา และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 160-174.
เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์. ศูนย์วิจัยและพัฒนา วิทยาลัยราชพฤกษ์.
อิสราภรณ์ รัตนคช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. งานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
Bruce, Willa M., & Blackburn, Walton J. (1992). Balancing Job Satisfaction and Performance. New York: Quorum Books.
Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). New York: Harper & Row.
Dessler, Gary. (2009). A Framework for Human Resource Management (5th ed). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.
Steers, R.M. & Porter. (1977). Motivation and work behavior. (5th ed). New York: McGraw-Hill.
Umstot, D. D. (1984). Understanding organization behavior. Minnesota: West Publishing.
Walton, Richard E. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Loues E.Davis and Albert B.Cherns (eds.). The Quality of Working Life. New York: Free Press.