การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัยของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ทองเอม

คำสำคัญ:

การพัฒนาความรู้, ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัย, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัยของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาความรู้ความเข้าใจและ ทักษะการทำวิจัยของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning: RBL) 2) ศึกษาผลการเรียนรายวิชา ED501 สถิติและวิจัยทางการศึกษา 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษาที่เรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 34 คนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ED501 สถิติและวิจัยทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ผลการเรียนรายวิชา ED501 สถิติและวิจัยทางการศึกษา นักศึกษาปีการศึกษา 2558 และ ปีการศึกษา 2559 สอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 23 คน และ 23 คนคิดเป็นร้อยละ 82.14 และ 67.64 3) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาทั้ง 2 ปี ไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 

References

จุฑา ธรรมชาติ. (2552). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิจัยทางการศึกษา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สืบค้น 13 ธันวาคม 2557, จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8267

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2557). ผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 54-62.

ปรียนันท์ สิทธิจินดา. (2552). ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วยวิจัยนอกชั้นเรียน. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2552, จาก http://www.node.rbru.ac.th/article/article31.pdf

พวงรัตน ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการทำวิจัยของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 21-44 สืบค้น 18 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.resjournal.kku.ac.th/social/ab/a1_2_21.asp?lang=en

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้น.(1991) จำกัด.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน: การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3-4), 17-26.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2553). แนวทางการพัฒนาบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(1), 1-9.

วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา BUS304 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ (Business Research). สืบค้น 18 กรกฎาคม 2556,จาก https://www.spu.ac.th/tlc/files/2013/07/BUS-304pdf

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2546). การสอนแบบ Research-Based Learning. ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. 8-20. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.mua.go.th/users/he-commission/law.php

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2546). การเรียนรู้คู่วิจัย: กรณีการสอนด้วยกระบวนวิจัยภาคสนาม วิชาการศึกษากับสังคม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิธิวิทยาการวิจัย, 16(9), 101-133.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2545). การสอนแบบเน้นวิจัยโดยใช้สัญญาแห่งการเรียนรู้ (Learning Contract). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Angelo, T. A., & Cross, K. P. (1993). Classroom Assessment Techniques: A Handbook for College Teachers (2nd Ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Baldwin, G. (2005). The teaching-research nexus: How research informs and enhances learning and teaching in the University of Melbourne. Retrieved July 30, 2016, from http://www.cshe.unimelb.edu.au.

Green, A. (2011). Good Practice Guide: Research-Based Learning Strategies for Successfully Linking Teaching and Research. Retrieved July 30, 2016, from http://www.griffith.edu.au/gihe/pdf/gihe_tipsheet_web_rbl.pdf

Dekker, H. & Walsarie Wolff, S. (2016). Re-inventing Research-Based Teaching and Learning. Retrieved July 30, 2016, from, https://www.educationandlearning.nl/uploads/cfeal/attachments/Dekker,%20H.,%20Walsarie-Wolff,%20S.%20(2016)%20Re-inventing%20Research-Based%20Teaching%20and%20Learning.pdf

Healey, M. (2005). Linking research and teaching: Exploring disciplinary spaces and the role of inquiry-based learning. In R. Barrett (Ed.) Reshaping the University: New relationships between research, scholarship and teaching (pp. 67-78). Columbus, OH: McGraw Hill.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner: Action research and the critical analysis of pedagogy. Deakin University.

Myatt, P. (2009). Student perceptions of the undergraduate research experience: What do they think they really gain and how much influence does it have?. Refereed Proceedings of the 2009 Uniserve Science Conference, Sydney: Australia, 1-2 October. Retrieved July 30, 2016, from, http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.508.6800&rep=ep1&type=pdf

Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, pp.49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-11